ข้อความต้นฉบับในหน้า
1) ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อที่ประกอบไปด้วยปัญญา เชื่ออย่างมีสติพิจารณาว่า สิ่ง
ใดควรเชื่อ สิ่งใดไม่ควรเชื่อ ศรัทธาขั้นพื้นฐานมีอยู่ 4 ประการ คือ
-
- เชื่อกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง ทำอะไรแล้วย่อมมีผลเสมอ
เชื่อผลของกรรม คือเชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
- เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน คือเชื่อว่ากรรมดีกรรมชั่วย่อมติดตามผู้ทำนั้นตลอดไป
- เชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริง และเชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์
2) ศีล หมายถึง การรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อยเป็นปกติ ไม่เบียดเบียนใคร ให้ความ
มั่นคงและความจริงใจซื่อสัตย์ต่อกัน อันเป็นหลักประกันความเป็นมนุษย์ในตัวบุคคล อย่าง
น้อยต้องรักษาศีลให้ได้ 5 ข้อ ซึ่งต้องหมั่นทำให้เป็นปกติจนกลายเป็นนิสัยให้ได้
3) หิริ หมายถึง ความละอายต่อการทำบาป ละอายต่อการคิดชั่ว พูดชั่ว และทำชั่ว โดย
ต้องหมั่นเตือนตนเองไม่ให้พลาดพลั้งไปทำความชั่วอยู่ตลอดเวลา
4) โอตตัปปะ หมายถึง ความกลัวต่อผลของบาปว่า ถ้าเราคิดชั่ว พูดชั่ว หรือทำชั่วไป
แล้ว สิ่งที่ตามมาคือ วิบาก ที่ส่งผลเป็นความทุกข์ทรมานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
5) สุตะ หมายถึง หมั่นฟังธรรมและศึกษาธรรมเพื่อให้ได้ฟังและรู้สิ่งที่ตนไม่เคยรู้ และ
เพิ่มพูนความรู้ที่มีอยู่แล้วให้เพิ่มพูนมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป แล้วศึกษาให้แตกฉาน ทั้งความรู้ทางโลก
และทางธรรม
6) จาคะ หมายถึง การรู้จักเสียสละ แบ่งออกเป็น 2 ประการ
- การสละสิ่งของเป็นทาน เป็นการกำจัดความตระหนี่ออกจากใจ
- สละอารมณ์ที่ไม่ดีเป็นทาน คือ สละอารมณ์โกรธ พยาบาทออกไป และให้อภัยทาน
ซึ่งจะส่งผลให้ใจของเราผ่องใสไม่ขุ่นมัว และไม่จองเวรกับใคร
7) ปัญญา หมายถึง ความรู้ในการกำจัดกิเลสเพื่อให้พ้นจากความทุกข์
อริยทรัพย์นั้นจัดเป็น “โลกุตตรทรัพย์” หมายถึง ทรัพย์ที่พ้นจากโลก อยู่เหนือโลก
อริยทรัพย์บางพระสูตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้เพียง 5 ประการบ้าง หรือ 4
ประการบ้าง เช่น ธนสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอริยทรัพย์ไว้ 5 ประการ คือ ศรัทธา ศีล สุตะ
202 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก