ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในพระไตรปิฎกมีปรากฏอยู่บ่อยครั้งที่พระอรหันต์กระทำในสิ่งที่พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าทรงเห็นว่ากระทบต่อสาวกในภายหลัง เช่น กรณีพระมหากัปปินะไม่ปรารถนาจะทำ
อุโบสถ เพราะท่านคิดว่าตนเป็นพระอรหันต์แล้วคงไม่ต้องทำ ในครั้งนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสเตือนว่า “ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ซึ่ง
อุโบสถ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ซึ่งอุโบสถ ดูก่อนพราหมณ์ เธอ
จงไปทำอุโบสถ จะไม่ไปไม่ได้ จงไปทำสังฆกรรม จะไม่ไปไม่ได้” เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสอย่างนี้ก็เพื่อต้องการให้เป็นแบบอย่างแก่ภิกษุภายหลังว่า แม้พระอรหันต์ยังต้องทำอุโบสถ
แล้วพระภิกษุปุถุชนจะไม่ทำได้อย่างไร
1
จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าแม้จะเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ในบางเรื่องท่านยังมองได้
ไม่ไกลเหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากพระองค์อนุญาตให้พระอรหันตสาวกบัญญัติสิกขาบท
ได้ สิกขาบทนั้นย่อมมีปัญหาในภายหลังอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงห้ามบัญญัติ ในยุค
ต่อมาภิกษุปุถุชนผู้มีศีลเป็นที่รักทั้งหลายก็จะตระหนักถึงเรื่องนี้ จะไม่บัญญัติสิ่งที่พระสัมมา
สัมพุทธเจ้ามิได้บัญญัติไว้ เขาทั้งหลายจะคิดได้ว่า แม้พระอรหันต์พระพุทธองค์ยังไม่อนุญาต
แล้วเราเป็นปุถุชนจะทำได้อย่างไร แต่ภิกษุที่ไม่เป็นธรรมวาที่อาจจะไม่สนใจในเรื่องนี้และ
บัญญัติสิ่งที่พระพุทธองค์ไม่บัญญัติขึ้นบ้าง จนแตกเป็นนิกายต่าง ๆ ในภายหลังอันนี้คงช่วย
อะไรไม่ได้ แต่อย่างน้อยๆ ภิกษุธรรมวาทีก็ยังมีอยู่มากและยังคงรักษาพระธรรมวินัยดั้งเดิม
เอาไว้ได้ตราบกระทั่งปัจจุบัน
พระวินัยนั้นเกิดจากการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมีความถูกต้องสมบูรณ์ ยัง
ความสุขความเจริญในการบำเพ็ญสมณธรรมสู่ภิกษุผู้ปฏิบัติตามความจริงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงอนุญาตไว้เหมือนกันว่า เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป หากสงฆ์เห็นสมควรจะเพิกถอนสิกขา
บทเล็กน้อยเสียก็ได้ แต่เนื่องจากพระอรหันต์ 500 รูปที่กระทำสังคายนาครั้งที่ 1 เห็นไม่ตรง
กันว่าสิกขาบทใดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย พระมหากัสสปะผู้เป็นประธานในการสังคายนาจึง
เสนอว่าให้ถือปฏิบัติในสิกขาบททั้งหมดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ซึ่งพระอรหันต์
ทั้งหมดก็เห็นชอบด้วย จึงถือเป็นข้อปฏิบัติของชาวพุทธมาจนปัจจุบัน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาคที่ ๑, มก. เล่ม 6 ข้อ 153 หน้า 385.
182 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก