มหานรกและเวลาในหลุมดำ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 306
หน้าที่ 306 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับชั้นต่าง ๆ ของมหานรก รวมถึงเวลาในหลุมดำ อธิบายถึงการเปรียบเทียบเวลาในมหานรกกับปีมนุษย์ โดยใช้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับหลุมดำและความโน้มถ่วงที่มีผลต่อการเดินของเวลา รวมถึงการค้นพบจากนักดาราศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับหลุมดำขนาดใหญ่ในกาแล็กซีต่าง ๆ และการคำนวณมวลหลุมดำตามทฤษฎีของสตีเฟน ฮอว์กิ้ง จะทำให้เรามีมุมมองที่ลึกซึ้งมากขึ้นเกี่ยวกับความหมายของชีวิตและการเวียนว่ายตายเกิดในทางพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-โครงสร้างของมหานรก
-เวลาในหลุมดำ
-ความแตกต่างของเวลา
-การเกิดใหม่ตามพุทธศาสนา
-วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สัตว์ทั้งหลายจะเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในอาคารนี้ ชั้นล่างสุดเป็นสัตว์นรก ชั้นที่สองเป็นอสุรกาย ชั้นที่สามเป็นเปรต ชั้นที่สี่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ชั้นที่ห้าเป็นมนุษย์ ชั้นที่ 6-11 เป็นชั้นเทวดา ชั้น ที่ 12-27 เป็นชั้นของรูปพรหม และชั้นที่ 28-31 เป็นชั้นอรูปพรหม มหานรก เวลาช้ากว่าโลกมนุษย์ ขุมที่ 1 สัญชีวมหานรก ขุมที่ 2 กาฬสุตตมหานรก 1 วันนรก, ปีมนุษย์ 1 วันนรก = 9 ล้านปีมนุษย์ 1 วันนรก = 36 ล้านปีมนุษย์ 3,285 ล้านเท่า 13,140 ล้านเท่า ขุมที่ 3 สังฆาฏมหานรก 1 วันนรก =144 ล้านปีมนุษย์ 52,560 ล้านเท่า ขุมที่ 4 โรรุวมหานรก 1 วันนรก = 576 ล้านปีมนุษย์ 210,240 ล้านเท่า ขุมที่ 5 มหาโรรุวมหานรก | 1 วันนรก = 2,304 ล้านปีมนุษย์ | 840,960 ล้านเท่า ขุมที่ 6 ตาปมหานรก 1 วันนรก = 9,216 ล้านปีมนุษย์ | 3,363,840 ล้านเท่า ขุมที่ 7, 8 มหาตาปมหานรก และ อเวจีมหานรกนั้น เวลาจะช้ากว่าเวลาบนโลกมนุษย์มากจน ไม่อาจจะคำนวณเปรียบเทียบกันได้ เวลาในหลุมดำกับเวลาในมหานรก จากที่กล่าวแล้วว่าความแตกต่างของเวลาบริเวณใกล้หลุมดำ (Black hole) กับบริเวณ อื่น ๆ จะสูงมาก เพราะหลุมดำมีมวลสูงมากเป็นผลให้ความโน้มถ่วงสูง จึงทำให้เวลา เดินช้าลง จากที่ศาตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กล่าวว่า หากหลุมดำมีมวล 10 เท่าของดวงอาทิตย์ เวลา ที่อยู่นอกเส้นขอบฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำเพียง 1 เซนติเมตร จะเดินช้าถึง 6 ล้านเท่าของเวลา ที่อยู่ห่างไกลออกไปนอกบริเวณเส้นขอบฟ้าเหตุการณ์ดังกล่าว นักดาราศาตร์ค้นพบว่าบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกและใจกลางกาแล็กซี่อื่นๆ มีหลุมดำขนาดใหญ่ที่มีมวลมหาศาลอยู่ แต่ยังไม่สามารถระบุมวลได้แน่ชัด หากนำค่า ประมาณของมวลหลุมดำที่สตีเฟน ฮอว์กิ้งกล่าวไว้ คือ 1 แสนเท่าของดวงอาทิตย์มาคำนวณ ความต่างของเวลาบริเวณใกล้หลุมดำกับบริเวณที่ห่างไกลออกไปจะพบว่า เวลาที่อยู่นอกเส้น 1 สม สุจีรา (2550). “ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น” หน้า 93. บทที่ 1 0 วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 295
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More