ข้อความต้นฉบับในหน้า
ส่วนมูลเหตุแห่งอนุวาทาธิกรณ์อีก 2 ประการ คือ ร่างกาย และวาจา พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุบางรูปเป็นผู้มีผิวพรรณน่ารังเกียจ ไม่น่าดู มีรูปร่างเล็ก มีอาพาธมาก เป็น
คนบอด ง่อย กระจอก หรือ อัมพาต อันจะเป็นเหตุให้มีความประพฤติบางอย่างไม่เหมาะสมเพราะ
ความบกพร่องของร่างกายดังกล่าว เพื่อนสหธรรมิกที่ไม่เข้าใจอาจจะโจทท่านได้ ส่วนเรื่องวาจา
นั้น คือ ภิกษุบางรูปเป็นคนพูดไม่ดี พูดไม่ชัด พูดระราน ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุนั้นด้วย
วาจาคือคำพูดไม่ดีของท่านได้
7.10.3 อาปัตตาธิกรณ์ : อาบัติและการแก้ไขอาบัติ
อาปัตตาธิกรณ์ คำว่า “อาบัติ” หมายถึง การล่วงละเมิดสิกขาบทหรือศีลที่พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติไว้ โดยมีชื่อ 7 กอง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์
ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และ ทุพภาษิต
อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส อาบัติปาจิตตีย์ และอาบัติปาฏิเทสนียะนั้นเป็นอาบัติที่
มีชื่อตรงกับชื่อสิกขาบท โดยสิกขาบทนิสสัคคิยปาจิตตีย์กับสิกขาบทปาจิตตีย์นั้น มีชื่ออาบัติว่า
“ปาจิตตีย์” เหมือนกัน
สำหรับ “ถุลลัจจัย” แปลว่า ความล่วงละเมิดที่หยาบ เป็นอาบัติที่หนักรองลงมาจาก
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัยนั้นเป็นอาบัติที่มีวัตถุเดียวกันกับอาบัติปาราชิก และ อาบัติสังฆาทิเสสดัง
ตัวอย่างต่อไปนี้
ภิกษุจงใจจะอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน แล้วได้กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นพระอรหันต์
หากคนที่ฟังอยู่เข้าใจจะต้อง “อาบัติปาราชิก” แต่ถ้าคนฟังไม่เข้าใจจะต้อง “อาบัติถุลลัจจัย”
ภิกษุเห็นสตรีคนหนึ่งและรู้ว่าเป็นสตรี มีความกำหนัดแล้วจับต้อง “ของเนื่องด้วยกาย”
ได้แก่ เสื้อผ้าของสตรีคนนั้น กรณีนี้ภิกษุจะต้อง “อาบัติถุลลัจจัย” แต่ถ้าจับต้อง “ร่างกาย” ส่วนใด
ส่วนหนึ่งของสตรีนั้นโดยตรงจะต้อง “อาบัติสังฆาทิเสส
คำว่า “ทุกกฎ” แปลว่า “ทำไม่ดี” เป็นอาบัติที่มีโทษเบารองจากอาบัติปาฏิเทสนียะ โดย
สิกขาบทในหมวดเสขิยวัตรทั้งหมดรวมทั้งพระบัญญัติเกี่ยวกับมารยาทอื่นๆ นอกปาฏิโมกข์-
สังวรศีล หากภิกษุล่วงละเมิดจะต้องอาบัติทุกกฏ
คำว่า “ทุพภาษิต” แปลว่า “พูดไม่ดี” เป็นอาบัติที่มีโทษเบาที่สุดคือมีโทษเบากว่าทุก
กฎ แต่มีความก้ำกึ่งกับทุกกฎพอสมควร เช่น ภิกษุตั้งใจ “จะด่า” เพื่อนภิกษุด้วยกันด้วยการ
กล่าวกระทบเรื่องผิวพรรณว่า ท่านเป็นคนสูงนัก ท่านเป็นคนต่ำนัก ท่านเป็นคนดำนัก เป็นต้น
186 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก