การคบคนชั่วและการเกียจคร้านในพระพุทธศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 227
หน้าที่ 227 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการคบคนชั่วและการเกียจคร้านในมุมมองของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยชี้ให้เห็นถึงโทษที่เกิดจากการคบหาผู้ไม่ดีและการไม่ทำงานอย่างตั้งใจ ซึ่งรวมถึงการระบุถึงการเสพสื่อและผลกระทบต่อสังคม ตัวอย่างเรื่องราวการเสวนาเกี่ยวกับการพนันบอลที่จัดขึ้นเพื่อตรวจสอบผลกระทบเหล่านี้ รวมถึงการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ระดับมหภาคที่ปรากฏในพระไตรปิฎกว่าเป็นการบริหารเศรษฐกิจของประเทศที่ถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-โทษของการคบคนชั่ว
-โทษของการเกียจคร้าน
-ผลกระทบของสื่อ
-เศรษฐศาสตร์มหภาคในพระไตรปิฎก
-การเสวนาเกี่ยวกับการพนันบอล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5) การคบคนชั่วเป็นมิตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงโทษในการคบคนชั่วเป็นมิตร ไว้ 6 ประการ คือ นำให้เป็นนักเลงการพนัน ทำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้ นำให้เป็นนักเลงเหล้า นำ ให้เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม ทำให้เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า และนำให้เป็นนักเลงหัวไม้ การคบมิตรในยุคปัจจุบันยังขยายวงกว้างมาถึง “การเสพสื่อด้วย” ทั้งสื่อโทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ และอื่นๆ เพราะสื่อเหล่านี้ได้นำคนและสิ่งแทนของคนออกเผย แพร่สู่สายตาของสาธารณชนจำนวนมาก ปัจจุบันคนแต่ละคนไม่จำเป็นต้องพบกันโดยตรงก็ สามารถ สื่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลกผ่านสื่อที่ทันสมัย คนได้ลงไปอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีไปสู่ชาวโลกอย่างกว้างขวางและยากต่อการควบคุม ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้จัดทำ โฟกัสกรุ๊ป ในหัวข้อ “พนันบอลปัญหาที่ซ้ำซาก แก้ไขได้ยากจริงหรือ?” โดยการเชิญกลุ่มคนที่ เกี่ยวข้องในวงการพนันบอลร่วม 40 ชีวิต มาร่วมเสวนาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จากการเสวนา พบว่า จุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดของผู้ที่เข้าสู่วงจรอุบาทว์อยู่ที่ “กลุ่มเพื่อนและคนใกล้ชิด” ด้วย การเล่นตามกันเพื่อความสนุก และสิ่งเร้าสำคัญที่ก่อให้เกิดการพนันบอลอย่างมากนั้น เป็น เรื่องของ “สื่อ” ทั้งหนังสือพิมพ์กีฬา นิตยสาร อินเทอร์เน็ต ทีวี และ วิทยุ เป็นต้น 6) การเกียจคร้าน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงโทษในการเกียจคร้าน 6 ประการ คือ มักให้อ้างว่าหนาวนักแล้วไม่ทำการงาน มักให้อ้างว่าร้อนนักแล้วไม่ทำการงาน มักให้อ้างว่า เย็นแล้วแล้วไม่ทำการงาน มักให้อ้างว่ายังเช้าอยู่นักแล้วไม่ทำการงาน มักให้อ้างว่าหิวนักแล้ว ไม่ทำการงาน เมื่อมากไปด้วยการอ้างเลศผลัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดก็ ไม่เกิดขึ้นที่เกิดแล้วเสื่อมสิ้นไป 8.4 เศรษฐศาสตร์ระดับมหภาคในพระไตรปิฎก เศรษฐศาสตร์มหภาค คือ การศึกษาเศรษฐกิจทั้งระบบ หรือศึกษาภาพรวมเศรษฐกิจ ทั้งประเทศนั่นเอง ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่โดยตรงในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาคในพระไตรปิฎกนั้นปรากฏอยู่ในรูปการบริหารเศรษฐกิจของกษัตริย์หรือ คณะผู้ปกครองแคว้นต่างๆ ในอดีต เช่น พระเจ้าจักรพรรดิ กษัตริย์ และคณะเจ้าต่างๆ เป็นต้น จากที่กล่าวถึงสาเหตุแห่งความร่ำรวยในหัวข้อเศรษฐศาสตร์จุลภาคว่า เกิดจาก อริยทรัพย์คือบุญและการขวนขวายสร้างฐานะตามหลักหัวใจเศรษฐี ได้แก่ ความขยันทำมาหากิน 1 ประชาชาติธุรกิจ (2549). “พนันบอลปัญหาที่ซ้ำซาก แก้ไขได้ยากจริงหรือ?” (ออนไลน์) 216 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More