การบริหารงานของพระเจ้าจักรพรรดิ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 142
หน้าที่ 142 / 373

สรุปเนื้อหา

พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีบทบาทสำคัญในการจัดการรักษาความสงบและความมั่นคงให้แก่ประชาชน โดยทรงคุ้มครองชนภายในทั้งพระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา และเหล่าทหาร ทรงป้องกันการทำอกุศลกรรมและบริจาคทรัพย์แก่ผู้ยากไร้ เมื่อมีโอกาส พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงเข้าหาบัณฑิตเพื่อตั้งคำถามถึงสิ่งที่ก่อให้เกิดกุศลและอกุศล และนำมาปฏิบัติในชีวิตจริง การปฏิบัติภารกิจนี้ยังรวมถึงการสงเคราะห์ทหารและพระราชา การถวายไทยธรรมแก่พราหมณ์ รวมถึงการให้ความเมตตาต่อสัตว์และปลดปล่อยความทุกข์ให้แก่พวกเขา โดยสรุป พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับการรักษาคุณธรรมและสวัสดิภาพของทุกหมู่เหล่าในสังคม.

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของพระเจ้าจักรพรรดิ
-การคุ้มครองและรักษาศีลธรรม
-การสงเคราะห์ประชาชน
-แนวทางในการบริหารจัดการ
-ความรับผิดชอบต่อสัตว์และธรรมชาติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(2) พระเจ้าจักรพรรดิทรงจัดการรักษาป้องกัน และคุ้มครองชนภายใน คือ พระมเหสี, พระราชโอรสและพระราชธิดา, เหล่าทหาร, พวกกษัตริย์ผู้ตามเสด็จ, พราหมณ์และคหบดีชาว นิคมและชาวชนบท, สมณพราหมณ์, สัตว์จำพวกเนื้อและนก โดยธรรม (3) พระเจ้าจักรพรรดิป้องกันการกระทำที่เป็นอธรรม เช่น การทำอกุศลกรรม (4) พระเจ้าจักรพรรดิบริจาคทรัพย์แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ (5) พระเจ้าจักรพรรดิทรงคบบัณฑิตคือ เข้าไปหาสมณพราหมณ์” ตามกาลอันควรแล้ว ไต่ถามถึง “สิ่งที่เป็นกุศล และ อกุศล สิ่งที่มีโทษ และ ไม่มีโทษ สิ่งที่ควรเกี่ยวข้อง และ ไม่ควร เกี่ยวข้อง สิ่งที่ทำแล้วเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน หรือสิ่งใดที่ทำแล้วเป็น ไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน” เมื่อสอบถามแล้วก็น้อมนำมาปฏิบัติคือ สิ่งใดเป็นอกุศล ทรงละเว้นสิ่งนั้น สิ่งใดเป็นกุศล ทรงยึดถือประพฤติสิ่งนั้น วัตรในข้อที่สองนั้น พระอรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า พระเจ้าจักรพรรดิจะต้อง ยังชนภายในคือ พระมเหสี พระราชโอรส และ พระราชธิดาให้ตั้งอยู่ในศีล ให้วัตถุเช่น ผ้า ดอกไม้ และของหอม ฯลฯ แก่ชนเหล่านั้น และป้องกันภัยทั้งปวงให้แก่เขา สำหรับเหล่าทหาร กษัตริย์ผู้ตามเสด็จ พร้อมทั้งพราหมณ์และคหบดี เป็นต้น พระเจ้า จักรพรรดิก็ต้องปฏิบัติอย่างนี้เหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างบางประการดังนี้ เหล่าทหารควร สงเคราะห์ ด้วยการเพิ่มบำเหน็จรางวัลให้ไม่ให้ล่วงเลยกาลเวลา กษัตริย์ผู้ได้รับการอภิเษก ควร สงเคราะห์ด้วยการให้รัตนะ เช่น ม้าอาชาไนยอันสง่างาม เป็นต้น กษัตริย์ประเทศราช ควร มอบยานพาหนะที่สมควรแก่ความเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ทั้งหลายควรมอบไทยธรรม เช่น ข้าว น้ำ และ ผ้า เป็นต้น พวกคหบดีและราษฎรทั่วไป ควรสงเคราะห์ด้วยการให้พันธุ์ข้าว, ไถ, ผาล และ โคงาน เป็นต้น สำหรับสมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ควรสักการะด้วยการถวายบริขาร ส่วนหมู่ เนื้อและนก ควรให้โปร่งใจด้วยการให้อภัย กล่าวคือ แบ่งเขตให้อภัยทานด้วยการห้ามฆ่าสัตว์ ในพื้นที่ต่างๆ ผู้เว้นขาดจากความมัวเมาและความประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกตน สงบตน * อรรถกถาจักกวัตติสูตร, อรรถกถาทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 15 หน้า 132-133. บทที่ 6 รัฐ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 131
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More