รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 133
หน้าที่ 133 / 373

สรุปเนื้อหา

บทที่ 6 เน้นการศึกษารัฐศาสตร์ในพระไตรปิฏก ซึ่งมุ่งเป้าหมายการสร้างสภาพให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างมีศีลธรรม โดยธรรมาธิปไตยเป็นหลักสำคัญที่สามารถปรับใช้ในระบอบการปกครองใดก็ได้ โดยยึดหลักธรรมเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน การปกครองต้องสร้างศีลธรรมควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและไม่ก่อให้เกิดอกุศลธรรม.

หัวข้อประเด็น

-เป้าหมายของรัฐศาสตร์ในพระพุทธศาสนา
-ธรรมาธิปไตยและการประยุกต์ใช้
-หลักธรรมในการปกครอง
-ความสัมพันธ์ระหว่างศีลธรรมและเศรษฐกิจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 6 รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก 6.1 ภาพรวมรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฏก เป้าหมายของรัฐศาสตร์ หรือการเมืองการปกครองในพระพุทธศาสนา อยู่ที่การสร้าง สภาพเอื้อให้มนุษย์ในสังคมประพฤติปฏิบัติตน เพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิตทั้ง 3 ระดับได้ โดยง่าย ทั้งเป้าหมายในชาตินี้ ชาติหน้า และในชาติสุดท้าย คือบรรลุมรรคผลนิพพาน ธรรมาธิปไตยหรือการยึดธรรมเป็นใหญ่ เป็นหัวใจสำคัญของหลักรัฐศาสตร์ใน พระไตรปิฎก ธรรมาธิปไตยนั้นไม่ถือว่าเป็น “ระบอบการปกครอง” ระบอบหนึ่ง เหมือนอย่าง ระบอบประชาธิปไตย หรือ ระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ทุกระบอบการปกครองที่มีอยู่ สามารถนำ ธรรมาธิปไตยไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งนั้น โดยยกเอา “หลักธรรม” เป็นเกณฑ์ในการตัดสินสูงสุด คล้ายกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ การตัดสินใจใด ๆ หรือการกระทำใดๆ ก็ตามจะต้อง ไม่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญฉันใด การตัดสินใจนั้น ๆ หรือการกระทำนั้นๆ ก็ต้องไม่ขัดต่อ “หลักธรรม” ฉันนั้น หลักธรรมนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ หลักในการปกครองตนของผู้ปกครอง และ หลักในการปกครองประชาชน โดยหลักในการปกครองตนของผู้ปกครอง ได้แก่ ทศพิธราชธรรม, กุศลกรรมบถ 10, จักรวรรดิวัตร และอปริหานิยธรรม ส่วนหลักในการปกครองประชาชน ได้แก่ สังคหวัตถุ 4, อคติ 4, กุศลกรรมบถ 10 และ ศีล 5 หลักธรรมในการปกครองนั้น ส่วนใหญ่ แล้วจะประกอบด้วยศีลและหลักอื่นๆ เช่น การให้ทาน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้เกิดความ ชัดเจนจึงมักจะเรียกกันว่า “หลักศีลธรรม” หลักศีลธรรมจึงเป็นหัวใจหรือเป็นแก่นของการปกครองประเทศ แต่ทั้งนี้ การจะให้ ศีลธรรมคงอยู่ได้อย่างมั่นคง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนา “เศรษฐกิจ” ควบคู่ไปด้วย เพราะ หากเศรษฐกิจไม่ดี ประชาชนจะอดอยากยากจน ความยากจนจะกดดันให้คนทำอกุศลธรรม ด้วยการลักขโมยเพื่อยังชีพ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ศีลธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้ การปกครองประเทศจึงต้องพัฒนาศีลธรรมและเศรษฐกิจควบคู่กันไป จะขาดตัวใด ตัวหนึ่งไม่ได้ เศรษฐกิจเป็นเสมือนราก ใบ เปลือกและกระพี้ที่คอยห่อหุ้มและดูดซับอาหารมา 122 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More