การระงับอธิกรณ์ตามพระธรรมวินัย GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 201
หน้าที่ 201 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอแนวทางการระงับอธิกรณ์ในชุมชนสงฆ์ โดยยึดหลักการตามพระธรรมวินัย ว่าด้วยการจัดการอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นในอาวาส และการทำงานร่วมกันระหว่างภิกษุในวัดเจ้าถิ่นและผู้มาใหม่ เพื่อให้เกิดการปรองดองและรักษาความสงบเรียบร้อยในพระศาสนา ผู้ที่รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่เคยระงับแล้วถือว่ามีความผิดตามหลักพระธรรมวินัย ทั้งนี้ยังมีข้อปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับภิกษุเจ้าถิ่นในการพิจารณา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นซ้ำอีก และควรมีความรอบคอบเพื่อให้การระงับอธิกรณ์ดำเนินไปได้ด้วยดี

หัวข้อประเด็น

-หลักการระงับอธิกรณ์
-การปฏิบัติของภิกษุเจ้าถิ่น
-การสื่อสารระหว่างภิกษุ
-ความสำคัญของความรอบคอบในพระธรรมวินัย
-ผลที่จะเกิดขึ้นจากการรื้อฟื้นอธิกรณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ฝ่ายไหนผิด โดยยึดความถูกต้องตามพระธรรมวินัยและให้ฝ่ายที่ผิดยินยอมด้วยดี หากอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ได้แล้ว ผู้ทำรื้อฟื้นอธิกรณ์ขึ้นอีกจะเป็นอาบัติปาจิตตีย์ 1.1) กรณีระงับอธิกรณ์ในอาวาสที่อาศัยอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่สามารถระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสที่อาศัยอยู่ได้ ก็ให้พากันไปสู่วัดอื่นหรือ สำนักสงฆ์อื่นที่มีจำนวนภิกษุมากกว่า เมื่อไปถึงแล้วก็ให้กล่าวกับภิกษุเจ้าถิ่นว่า อธิกรณ์นี้เกิด ขึ้นแล้วอย่างนี้ ขอโอกาส ท่านทั้งหลายจงระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรมวินัย ส่วนภิกษุเจ้าถิ่นนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้หลักไว้ว่าหากมีคณะสงฆ์จากวัดอื่นมาขอให้ ช่วยระงับอธิกรณ์ ภิกษุเจ้าถิ่นจะต้องมีความรอบคอบโดยปฏิบัติดังนี้ (1) ให้ปรึกษากับสมาชิกในวัดก่อน ถ้าปรึกษากันแล้วคิดว่า พวกเราไม่สามารถระงับ อธิกรณ์นี้โดยธรรมวินัยได้ ภิกษุเจ้าถิ่นก็ไม่พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้ (2) ถ้าปรึกษากันแล้วคิดว่า สามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรมวินัย ก็ให้กล่าว กับพวกภิกษุอาคันตุกะนั้นว่า ถ้าพวกท่านจักแจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้วจริง ๆ แก่พวกเรา พวก เราจักรับอธิกรณ์นี้ แต่ถ้าพวกท่านไม่แจ้งแก่เราตามความเป็นจริง พวกเราก็จักไม่รับอธิกรณ์นี้ สำหรับภิกษุอาคันตุกะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้หลักไว้ว่า เมื่อไปขอให้พระวัดอื่น ช่วยระงับอธิกรณ์นั้น จะต้องมีความรอบคอบเช่นกันโดยปฏิบัติดังนี้ (1) ให้กล่าวกับพวกภิกษุเจ้าถิ่นว่า พวกผมจักแจ้งอธิกรณ์นี้ ตามที่เกิดแล้วจริงๆ แก่ ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านสามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรมวินัย ระหว่างเวลาเท่านี้ได้ อธิกรณ์จัก ระงับด้วยดี พวกผมจักมอบอธิกรณ์แก่ท่านทั้งหลาย (2) หากท่านทั้งหลาย ไม่สามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรมวินัย ระหว่างเวลาเท่านี้ได้ อธิกรณ์จักไม่ระงับด้วยดี พวกผมจักไม่มอบอธิกรณ์นี้แก่ท่านทั้งหลาย พวกผมนี้แหละจักเป็น เจ้าของอธิกรณ์นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงรอบคอบอย่างนี้ แล้วจึงมอบ อธิกรณ์นั้นแก่พวกภิกษุเจ้าถิ่น ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ก็เป็นการดี ใน ขั้นนี้ถือว่ายังระงับด้วยสัมมุขาวินัยอยู่ ผู้ทำการรื้อฟื้นและติเตียนอธิกรณ์ที่ระงับแล้วต้องอาบัติ ปาจิตตีย์เช่นเดียวกัน 190 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More