ข้อความต้นฉบับในหน้า
บางตำแหน่งมีเวลาต่างกันน้อยมากเมื่อเทียบกับอีกตำแหน่งหนึ่ง เพราะความเร็วในการเคลื่อน
ที่ของตำแหน่งนั้น ๆ ต่างกันน้อยมาก จนไม่อาจจะวัดความแตกต่างของเวลาออกมาให้เห็น
อย่างชัดเจนได้ ด้วยเหตุที่อวกาศและเวลากลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่แยกอิสระจากกัน
นักวิทยาศาสตร์จึงเรียกทั้งสองอย่างนี้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวว่า “อวกาศเวลา” หรือ “กาลอวกาศ”
2.) ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
ไอน์สไตน์ตระหนักว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่เขาประกาศไปเมื่อปี ค.ศ.1905
(พ.ศ.2448) นั้น แม้จะปฏิวัติวงการฟิสิกส์โลกในหลายๆ เรื่องแต่เขายังไม่พอใจนักเพราะว่า
ยังมีจุดอ่อนอยู่อย่างน้อย 2 ประการคือ
(1) ทฤษฎียังวางอยู่บนพื้นฐานของความเร็วคงที่หรือกรอบอ้างอิงเฉื่อย แต่ในโลก
ความเป็นจริงแทบจะไม่มีอะไรที่จะรักษาความเร็วให้คงที่ได้ตลอด
(2) ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษยังไม่ได้กล่าวถึงเรื่องความโน้มถ่วง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ
ที่ปราฏอยู่ทั่วไปในโลกและในเอกภพ
ไอน์สไตน์จึงตั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปขึ้นมาในปี ค.ศ.1915 (พ.ศ.2458) เพื่อใช้
อธิบายวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่คงที่ และอธิบายเรื่องแรงโน้มถ่วง
ผลของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
ผลของทฤษฎีนี้ทำให้ไอน์สไตน์ได้ค้นพบปรากฏการณ์ความโน้มถ่วงที่สำคัญ 3 ประการ
คือ ความโน้มถ่วงทำให้เวลาเดินช้าลง, ความโน้มถ่วงทำให้แสงเดินทางเป็นเส้นโค้ง และความ
โน้มถ่วงยึดความยาวของคลื่นแสง ผลทั้งสามประการนี้ ไอน์สไตน์สามารถอธิบายได้ทั้งเหตุผล
ในเชิงคุณภาพ และอธิบายด้วยตัวเลขการคำนวณทางคณิตศาสตร์
ความโน้มถ่วงทำให้เวลาเดินช้าลง
ความโน้มถ่วงยิ่งสูงขึ้นเท่าใด เวลาก็ยิ่งเคลื่อนหรือผ่านไปช้าลงเท่านั้น ดังนั้นนาฬิกา
บนโลกกับนาฬิกาบนดวงจันทร์ จะเดินเร็วไม่เท่ากัน นาฬิกาบนโลกจะเดินช้ากว่า เพราะความ
โน้มถ่วงของโลกสูงกว่าของดวงจันทร์ ยิ่งดาวดวงใดมีมวลสูง ความโน้มถ่วงก็จะสูงตามไปด้วย
เมื่อความโน้มถ่วงสูงเวลาก็จะเดินช้าลงไปด้วยเช่นกัน ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์วัดความแตกต่าง
ระหว่างเวลาบนดวงอาทิตย์และบนผิวโลกได้ว่า เป็นไปตามที่ไอน์สไตน์บอกไว้เมื่อ 100 ปีมา
แล้วทุกประการ กล่าวคือ ในปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ.2503) นักวิทยาศาสตร์วัดได้ว่าเวลาบนดวง
ไพรัช ธัชยพงษ์ (2549). “หนังสือไอน์สไตน์ หลุมดำ และบิ๊กแบง” หน้า 152.
50 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก