ทฤษฎีสัมพัทธภาพและการวัด GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 57
หน้าที่ 57 / 373

สรุปเนื้อหา

ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์อธิบายว่าการวัดบางอย่างต้องการการเปรียบเทียบเพื่อให้มีความหมาย โดยทฤษฎีนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่เน้นกรอบอ้างอิงเฉื่อย และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปที่เกี่ยวกับผลกระทบของความโน้มถ่วงต่อเวลา การอธิบายนี้ชี้ให้เห็นว่าการที่นาย ก. สูงที่สุดในชั้นเรียนมีความหมายเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ และไม่ใช่เมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนชั้นอื่น การศึกษาเรื่องนี้มีรากฐานย้อนไปถึงกาลิเลโอและถูกพัฒนาโดยไอน์สไตน์เพื่อปฏิวัติความเข้าใจทางฟิสิกส์

หัวข้อประเด็น

- การวัดและการเปรียบเทียบ
- ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์
- ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
- กรอบอ้างอิงเฉื่อย
- ความเร็วและความโน้มถ่วง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทุกสิ่งทุกอย่าง จะมีผลโดยสมบูรณ์หรือมีความหมาย ก็ต้องเป็นการวัดหรือการสังเกตเปรียบ เทียบกับการอ้างอิงเสมอ กล่าวง่ายๆ คือ ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพ การวัดอะไรก็ตาม ถ้าวัด กับตัวเองเท่านั้นก็ไม่มีความหมายอะไร ต้องเป็นการวัดเปรียบเทียบกับอะไรบางอย่างจึงจะมี ความหมาย เช่น การกล่าวเพียงว่านาย ก. สูงที่สุด ไม่มีความหมาย เพราะไม่ได้ระบุว่าเปรียบ เทียบกับอะไร แต่ถ้ากล่าวว่า นาย ก. สูงที่สุดในชั้นเรียนของเขา ก็จะมีความหมายสมบูรณ์ เพราะแสดงให้เห็นชัดเจนว่า นาย ก. สูงกว่าคนอื่น ๆ ทั้งหมดในชั้นเรียนของเขา แต่ไม่ได้ หมายความว่า นาย ก.สูงที่สุดเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับนักเรียนชั้นอื่นที่มีบางคนที่สูงกว่านาย ก. หรือเมื่อไอน์สไตน์กล่าวว่า “ความเร็ว และ ความโน้มถ่วง” เป็นเหตุให้เวลาในเอกภพ ไม่เท่ากัน กล่าวคือ วัตถุที่เคลื่อนที่เร็วเวลาจะเดินช้า เมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุที่เคลื่อนที่ช้ากว่า และตำแหน่งที่มีความโน้มถ่วงสูง เวลาจะเดินช้ากว่าตำแหน่งที่ความโน้มถ่วงต่ำกว่า จากที่ กล่าวมานี้จะเห็นว่า คำพูดของไอน์สไตน์ที่ว่า “ความเร็ว และ ความโน้มถ่วง” เป็นเหตุให้เวลา ในเอกภพไม่เท่ากันนั้น จะมีความหมายสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการเปรียบเทียบเท่านั้น ไอน์สไตน์ไม่ได้ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพคนแรก แต่ทฤษฎีนี้วิวัฒนาการมาตั้งแต่ สมัยของกาลิเลโอ ทว่าไอน์สไตน์เป็นผู้ขยายความให้ครอบคลุมมากกว่ากาลิเลโออีกหลายเท่า จนถึงกับปฏิวัติความเข้าใจทางฟิสิกส์ที่มีมาก่อน ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์นั้นมีอยู่ 2 ทฤษฎีคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Theory of Relativity) และ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ทั่วไป (General Theory of Relativity) แต่ละทฤษฎีมีรายละเอียดดังนี้ 1.)ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ไอน์สไตน์ตั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1905 (พ.ศ.2448) เป็นทฤษฎี ที่ใช้กับกรอบอ้างอิงเฉื่อย หรือกรอบอ้างอิงที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่สม่ำเสมอ กรอบอ้างอิง หมายถึง วัตถุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นำมาเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของ อีกสิ่งหนึ่ง เช่น รถแล่นด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อเปรียบเทียบกับโลก ในที่นี้ โลกเป็นกรอบอ้างอิง เป็นต้น กรอบอ้างอิงเฉื่อย หมายถึง กรอบอ้างอิงที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว คงที่สม่ำเสมอ ปราศ จากการเร่งความเร็ว หรือ การชะลอความเร็ว เช่น โลกของเราถือได้ว่าเป็นกรอบอ้างอิงเฉื่อย ประเภทหนึ่ง เพราะโลกเคลื่อนที่หรือโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็ว คงที่สม่ำเสมอ คือ หนึ่ง รอบใช้เวลานาน 365.253366 วัน ด้วยความเร็วประมาณ 100,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 46 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More