วิกฤตการณ์อาหารและพลังงานโลก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 239
หน้าที่ 239 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงผลกระทบของการบริโภคนิยมและการสร้างบุญต่อสังคมเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังได้พูดถึงวิกฤตการณ์อาหารและพลังงานที่ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันที่มีผลต่อการใช้จ่ายของคนทุกระดับ ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องเผชิญกับความยากจน และปัญหาด้านอุปทานและอุปสงค์ซึ่งทำให้เกิดการขึ้นราคา อธิบายว่าการให้และการสร้างบุญสามารถช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ ข้อมูลในบทความนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายแหล่ง รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศที่ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการหาทางแก้วิกฤตนี้อย่างเร่งด่วน.

หัวข้อประเด็น

-ประเด็นวิกฤตอาหาร
-สถานการณ์ราคาพลังงาน
-ผลกระทบจากการบริโภคนิยม
-การกระจายรายได้
-การสร้างบุญและศีลธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ที่ฟุ่มเฟือยเพื่อความสุขส่วนตัว ซึ่งตรงข้ามกับหลักบริโภคนิยมของสหรัฐอเมริกาที่เน้นให้คน บริโภคมากๆ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นการบริโภคสินค้าที่จำเป็นหรือฟุ่มเฟือย แม้จะทำให้เศรษฐกิจ เติบโตในช่วงแรกแต่ผลที่ตามมาในระยะยาวคือ ภาระเรื่องหนี้สิน การสร้างบุญนั้นเป็นการฝึกให้คนเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นและประโยชน์ของสังคม ไปในตัว ปัญหาสินค้าด้อยคุณภาพเพราะหวังกอบโกยกำไรจะมีน้อย ปัญหาการเอารัดเอา เปรียบกันจะมีน้อย เพราะมีวัฒนธรรมการให้เป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจให้คนเมตตาต่อกัน การให้ นี้เป็นการกระจายรายได้จากคนรวยไปสู่คนจน ปัญหาการแตกแยกระหว่างชนชั้นก็จะไม่ เกิดขึ้น เศรษฐกิจจะเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ความเชื่อมั่นของคนในสังคมจะเพิ่มมากขึ้น เรื่อยๆ และจะผลักดันเศรษฐกิจให้โตขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน และที่สำคัญบุญและศีลธรรมนั้นเป็นสิ่ง ที่สร้างความเชื่อมั่นได้ดีที่สุด ไม่ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร หากคนยึดมั่นในบุญ และศีลธรรม ก็จะนำพาสังคมและเศรษฐกิจให้ดำเนินต่อไปได้ 8.5.4 วิกฤตการณ์อาหารและพลังงานโลก ปัญหาอาหารและพลังงานกำลังเป็นประเด็นร้อนให้รัฐบาลแต่ละประเทศหาทาง แก้ไขพลังงานในที่นี้หมายเอาพลังงานที่ได้จาก “น้ำมัน” เป็นหลัก การถีบตัวสูงขึ้นของราคา น้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาน้ำมันในแต่ละประเทศสูงตามไปด้วย ในปี พ.ศ. 2540 น้ำมัน “เบนซิน 95” ขายปลีกในเมืองไทยมีราคาประมาณ 10 บาท/ลิตร แต่ ณ วันนี้ (31 พฤษภาคม พ.ศ.2551) ราคาน้ำมันในกรุงเทพมหานครอยู่ที่ 40.09 บาท/ลิตร สำหรับอาหารก็แพงขึ้นทุกชนิด ธนาคารโลกประเมินว่า “ราคาอาหารเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา” นายบัน คี-มุนเลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า ราคาอาหาร ที่แพงขึ้นอย่างมากทำให้คน 100 ล้านคนต้องกลายเป็นคนยากจนก่อนหน้านี้พวกเขาไม่ต้องการ ความช่วยเหลือ แต่ปัจจุบันคนเหล่านี้ไม่สามารถซื้อหาอาหารได้แล้ว ทำไมน้ำมันและอาหารจึงแพงขึ้นขนาดนั้น หลักเศรษฐศาสตร์ให้คำตอบไว้ว่า สาเหตุ พื้นฐานของภาวะของแพง คือ “อุปสงค์มาก (demand) แต่อุปทานน้อย (Supply)” กล่าวคือ ความต้องการสินค้ามีมากในขณะที่สินค้าในตลาดมีน้อยจึงผลักดันให้ราคาแพงขึ้น ส่วนสาเหตุ ที่ทำให้อุปสงค์มากแต่อุปทานน้อยนั้นมีดังนี้ 1 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (2540) “สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง.” [ออนไลน์]. * บริษัท ปตท.จำกัด มหาชน (2551). “ราคาน้ำมันขายปลีก กทม.และปริมณฑล. [ออนไลน์]. 228 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More