ข้อความต้นฉบับในหน้า
6.10 เปรียบเทียบรัฐศาสตร์ทางโลกกับทางธรรม
ในหัวข้อนี้ จะเปรียบเทียบหลักธรรมาธิปไตยกับการปกครองในยุคปัจจุบัน โดยจะ
หยิบยกมาเพียงบางประเด็นเท่านั้น คือ ในเรื่องการปกครองโดยคณะบุคคลของแคว้นวัชชี กับ
การปกครองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน เพราะระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นระบอบที่ใช้
กันมากที่สุดในยุคนี้ ส่วนประเด็นอื่น ๆ ได้เปรียบเทียบแทรกไว้ในเนื้อหาบ้างแล้ว
การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นมีลักษณะบางประการคล้ายกับการปกครองแบบ
คณะบุคคลของแคว้นวัชชี กล่าวคือ เป็นระบอบที่ไม่ได้ปกครองโดยคนๆ เดียวแบบระบอบกษัตริย์
แต่ปกครองโดยคณะบุคคลที่มีสิทธิ์ตัดสินร่วมกัน แต่ทั้งนี้ก็มีความต่างกันตรงที่ระบอบ
ประชาธิปไตยนั้น เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนสมัครเข้าไปเป็นคณะผู้ปกครองประเทศได้
โดยผ่านการเลือกตั้ง แต่การปกครองของแคว้นวัชชีนั้นสงวนสิทธิ์ไว้เฉพาะคณะเจ้าเท่านั้น ส่วน
กระบวนการปกครองมีความคล้ายคลึงกันคือ ระบอบประชาธิปไตยยกเอารัฐธรรมนูญเป็น
กฎหมายสูงสุดของการปกครอง ส่วนแคว้นวัชชียกเอา “ธรรม” ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส
สอนไว้ เช่น อปริหานิยธรรม เป็นต้น ให้เป็นหลักปฏิบัติสูงสุดของคณะผู้ปกครอง
ในการจัดสรรอำนาจนั้นก็มีความคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ระบอบประชาธิปไตยแบ่ง
อำนาจออกเป็น 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ส่วนแคว้นวัชชีนั้นก็มี
การจัดสรรอำนาจออกเป็นฝ่ายๆอย่างชัดเจนไม่ก้าวก่ายกัน เท่าที่ปรากฏอยู่ในอรรถกถา
พระไตรปิฎกพบว่า มีการแบ่งอำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการชัดเจนมาก คือ คณะเจ้าวัชรี
เป็นฝ่ายบริหารโดยมีคัดเลือกตัวแทนคณะเจ้าหนึ่งท่านให้เป็นพระราชา อำนาจตุลาการนั้น
เป็นหน้าที่ของ “มหาอำมาตย์” เป็นต้น ส่วนอำนาจนิติบัญญัตินั้นไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า มีการ
แบ่งอำนาจนี้ออกไปต่างหากหรือไม่ แต่จากพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ตรัสแก่
เจ้าวัชชีทั้งหลายว่า “ไม่บัญญัติข้อที่ไม่เคยบัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว สมาทาน
วัชชีธรรมแบบโบราณ ตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่”
พระดำรัสนี้สามารถตีความได้ 2 ประเด็นคือ ประเด็นแรก คือ อำนาจนิติบัญญัติ
รวมอยู่กับอำนาจบริหารของเจ้าวัชชีคณะเดียวกัน ประเด็นที่สอง เจ้าวัชชีแบ่งออกเป็น 2 คณะ
คือ คณะที่ทำหน้าที่บริหาร และ คณะที่ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย จากข้อมูลที่มีอยู่นี้ยังไม่อาจ
จะสรุปได้ว่าเป็นประเด็นไหนกันแน่ แต่ทั้งนี้อำนาจนิติบัญญัติตามอปริหานิยธรรมนั้นเป็น
อำนาจที่ค่อนข้างนิ่งคือ บัญญัติตามประเพณีอันดีงามแต่โบราณของชาววัชชีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้
ความเคลื่อนไหวที่สำคัญทางการปกครองจึงอยู่ที่ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการซึ่งมีการ
154 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก