ข้อความต้นฉบับในหน้า
จะต้อง “อาบัติทุกกฏ” ทุกๆ คำพูด แต่ถ้าไม่ได้คิดจะด่าเพียงแต่ต้องการ “ล้อเล่น” แล้วพูดคำ
ดังกล่าว จะต้อง “อาบัติทุพภาษิต” ทุกๆ คำพูด
อาบัติทั้ง 7 กองนี้จัดเป็น 2 ประเภท คือ ครุกาบัติ และลหุกาบัติ
ครุกาบัติ หมายถึง อาบัติหนัก จัดเป็นอาบัติชั่วหยาบที่เรียกว่า “ทุฏจุลลาบัติ” หรืออาบัติ
ที่เป็นโทษ ได้แก่ ปาราชิก และสังฆาทิเสส ปาราชิกนั้นเป็นอาบัติหนักขั้น “อเตกิจฉา” คือ
เยียวยาแก้ไขไม่ได้ ซึ่งทำให้ภิกษุผู้ต้องมีโทษถึงที่สุดคือขาดจากความเป็นภิกษุ ส่วนสังฆาทิเสส
เป็นอาบัติหนักขั้น “สเตกิจฉา” พอเยียวยาแก้ไขให้กลับเป็นภิกษุปกติได้ด้วย “วุฏฐานคามินี”
คือจะพ้นได้ด้วยการอยู่ปริวาสหรืออยู่กรรม
ลหุกาบัติ หมายถึง อาบัติเบา จัดเป็น “อกุฏจุลลาบัติ” คืออาบัติไม่ชั่วหยาบ ได้แก่ อาบัติ
5 กองที่เหลือ ตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมา ซึ่งจะแก้ไขได้หรือระงับได้ด้วย “เทสนาคามินี” คือการแสดง
หมายถึงเปิดเผยความผิดของตนต่อหน้าพระภิกษุหรือหมู่พระภิกษุคือสงฆ์
7.10.4 กิจจาธิกรณ์ : กิจที่สงฆ์จะพึงกระทำ
กิจจาธิกรณ์ หมายถึง กิจที่สงฆ์จะพึงกระทำมี 4 ประการ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม
ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม
อปโลกนกรรม หมายถึง กรรมคือการบอกเล่ากันในที่ประชุมสงฆ์เพื่อขอความเห็น
ชอบร่วมกัน เพื่อทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การอปโลกน์กฐิน คือ การที่ตัวแทนสงฆ์แจ้งให้
สงฆ์ทราบว่าจะยกผ้ากฐินให้กับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะสงฆ์ใน
พิธีกรรมทอดกฐินประจำปี หากพระภิกษุทุกรูปในที่ประชุมสงฆ์เห็นพ้องกันหรือมีมติร่วมกัน
ไม่มีใครคัดค้านพระภิกษุรูปที่ได้รับการเสนอชื่อนั้นก็จะได้ผ้ากฐินนั้นมาใช้สอย
ญัตติกรรม คำว่า “ญัตติ” แปลว่า คำเผดียงสงฆ์ หมายถึง การประกาศให้สงฆ์ทราบ
เพื่อทำกิจร่วมกัน ญัตติกรรม หมายถึง กรรมอันกระทำด้วยการตั้งญัตติเพียงอย่างเดียว คือ
เพียงแต่ประกาศให้สงฆ์ทราบว่าจะทำกิจนั้นๆ เท่านั้น ไม่มีการขอมติจากคณะสงฆ์เหมือน
อปโลกนกรรม เช่น การทำอุโบสถหรือพิธีฟังสวดพระปาฏิโมกข์ เป็นต้น
ญัตติทุติยกรรม แปลว่า กรรมที่มีญัตติเป็นที่สอง หมายถึง กรรมที่มีวาจาหรือการ
กล่าวครบ 2 รวมทั้งญัตติ กล่าวคือ เมื่อมีการสวดตั้งญัตติแล้ว จะมีการสวดอนุสาวนา คือ คำ
สวดประกาศขอมติจากสงฆ์อีกหนึ่งครั้งรวมเป็นสองจึงชื่อว่าญัตติทุติยกรรมเช่นการทำสังคายนา
พระไตรปิฎก การสมมติสีมา เป็นต้น
บทที่ 7 นิ ติ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 187