ข้อความต้นฉบับในหน้า
วิธีการเหล่านี้จากการรักษาโรคต่าง ๆ ดังนี้
1.1) วิธีการรักษาโรคลม
วิธีการรักษาโรคลมในสมัยพุทธกาลนั้นมีหลายวิธี เช่น ดื่มน้ำมันที่หุงเจือด้วยน้ำเมา
เข้ากระโจม, รมใบไม้, รมใหญ่, รดตัวด้วยน้ำที่ต้มให้เดือดด้วยใบไม้นึ่งตัวในอ่างน้ำ ฉันกระเทียม
หากเป็นโรคลมเสียดยอกตามข้อจะรักษาด้วยวิธีระบายโลหิตออก เป็นต้น
การดื่มน้ำมันที่หุงเจือด้วยน้ำเมาเป็นวิธีการที่แพทย์รักษาโรคลมของท่านพระปิลินท
วัจฉะ โดยน้ำเมาที่เจือลงไปเพื่อหุงกับน้ำมันนั้นจะต้องไม่มากจนเกินขนาด ไม่ปรากฏสี กลิ่น
และรสของน้ำเมา
การเข้ากระโจม คำว่า “กระโจม” หมายถึง ผ้าหรือสิ่งที่ทำเป็นลอมขึ้นสำหรับเข้าไปอยู่
ข้างในเพื่อให้เหงื่อออก ในสมัยพุทธกาลเรียกว่า “การนึ่งตัว” เพื่อแก้โรคลม
การรมใบไม้ หมายถึง การนึ่งตัวเช่นกัน ใช้ในกรณีที่การนึ่งตัวแบบธรรมดาแล้วไม่
อาจแก้โรคลมให้หายได้ ก็ให้นำใบไม้ที่แก้โรคลมชนิดต่างๆ มาในกระโจมแล้วจุดไฟเพื่อรมควัน
การรมใหญ่ หมายถึง การนึ่งตัวอีกวิธีหนึ่ง ใช้ในกรณีที่รมด้วยใบ้ไม้ในกระโจมแล้วไม่
หายก็จะใช้วิธีนี้ คือ ขุดหลุมขึ้นประมาณเท่าตัวคน แล้วบรรจุถ่านไฟให้เต็มหลุม กลบด้วยฝุ่น
และทราย ฯลฯ ลาดใบไม้ที่แก้โรคลมชนิดต่าง ๆ บนหลุมนั้น จากนั้นก็ให้ผู้ที่อาพาธทาตัวด้วย
น้ำมันที่แก้โรคลม เสร็จแล้วให้นอนพลิกไปพลิกมาบนใบไม้ที่ลาดบนหลุมนั้น
การรดตัวด้วยน้ำที่ต้มให้เดือดด้วยใบไม้ หมายถึง วิธีการรักษาโรคลมอีกแบบหนึ่ง ใช้
ในกรณีรมใหญ่แล้วไม่หาย ก็ให้ใช้วิธีนี้คือ หาใบไม้ที่แก้โรคลมชนิดต่าง ๆ มา แล้วนำมาต้มให้
เดือด จากนั้นนำน้ำต้มด้วยใบไม้เหล่านั้นมารดตัวแล้วก็เข้ากระโจม
การนึ่งตัวในอ่างน้ำ หมายถึง วิธีการรักษาโรคลมอีกแบบหนึ่ง ใช้ในกรณีที่รดตัวด้วย
น้ำที่ต้มเดือดด้วยใบไม้แล้วไม่หาย ก็ให้ใช้วิธีนี้ คือ เอาน้ำอุ่นใส่อ่างหรือราง แล้วลงไปแช่ในน้ำ
อุ่นนั้นเพื่อทำการนึ่งให้เหงื่อออก จะได้หายจากการเป็นโรคลม
การระบายโลหิตออก หมายถึง วิธีการรักษาโรคลมอีกแบบหนึ่ง ใช้ในกรณีเป็นโรค
ลมเสียดยอกตามข้อ โดยสมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะ อาพาธเป็นโรคลมเสียดยอกตามข้อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้รักษาด้วย “การระบายโลหิตออก” แต่ถ้าโรคลมเสียดยอกตามข้อยังไม่
หาย ก็ให้ดูดโลหิตออกด้วยเขาสัตว์อีกครั้งหนึ่ง
บทที่ 1 1 แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 333