ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าเองก็เคยทรงประชวรด้วยโรคลมในพระอุทรหรือท้อง และทรง
หายประชวรด้วยการเสวยข้าวต้มปรุงด้วยของ 3 อย่าง คือ งา ข้าวสาร และถั่วเขียว ท่านพระ
สารีบุตรก็เคยอาพาธเป็นลมเสียดท้อง และรักษาให้หายได้ด้วยการ “ฉันกระเทียม”
ในอรรถกถาบันทึกวิธีการรักษาโรคลมไว้อีกว่า ให้ภิกษุที่อาพาธด้วยโรคลม เติม
น้ำมันเปลวหมีและสุกร เป็นต้น ลงในข้าวยาคูที่ต้มด้วยน้ำฝาดรากไม้ 5 ชนิด (น้ำฝาดสะเดา
น้ำฝาดมูกมัน น้ำฝาดขี้กา น้ำฝาดบอระเพ็ด และน้ำฝาดกระถินพิมาน) แล้วดื่มข้าวยาคูนั้น ข้าวยา
คูจะช่วยบำบัดโรคได้เพราะมีความร้อนสูง
1.2) วิธีการรักษาโรคฝีและโรคฝีดาษ
มีภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคฝี พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงให้รักษาด้วย “การผ่าตัด” แล้ว
พอกแผลด้วยยา ใช้ผ้าพันปิดแผลไว้ หากแผลคัน ก็ให้ชะล้างแผลด้วยน้ำแป้งเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ถ้าแผลชื้นหรือเป็นฝ้า ก็ให้รมแผลด้วยควัน หากมีเนื้องอกยื่นออกมา ก็ให้ตัดเนื้องอกนั้นด้วย
ก้อนเกลือ แล้วใช้น้ำมันทาสมานแผล และใช้ผ้าเก่าที่สะอาด ๆ ซับน้ำมัน
ครั้งหนึ่งพระเวณัฏฐสีสะซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระอานนท์อาพาธเป็นโรคฝีดาษหรือ
อีสุกอีใส ผ้านุ่งผ้าห่มกรังอยู่ที่ตัวเพราะน้ำเหลืองของโรคนั้น เพื่อนภิกษุจึงเอาน้ำชุบผ้าเหล่านั้น
แล้วค่อยๆดึงออกมา ต่อมาเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทราบจึงตรัสว่า “เราอนุญาตเภสัชชนิดผง
สำหรับภิกษุผู้เป็นฝีก็ดี พุพองก็ดี สิวก็ดี โรคฝีดาษก็ดี มีกลิ่นตัวแรงก็ดี”
1.3) วิธีการรักษาโรคปวดศีรษะ
วิธีการรักษาโรคศีรษะในสมัยพุทธกาลนั้นมีหลายวิธี เช่น การนัตถุ์ยา การใช้น้ำมัน
ทาศรีษะ และการสูดควันที่เป็นยา เป็นต้น
ครั้งหนึ่งภรรยาเศรษฐีท่านหนึ่งในเมืองสาเกต ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะอยู่ 7 ปี นายแพทย์
ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคนมารักษาแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เมื่อหมอชีวกโกมารภัจจ์
ทราบข่าวจึงรับอาสาที่จะรักษาภรรยาเศรษฐีท่านนั้น เมื่อท่านตรวจดูอาการแล้ว จึงนำเนยใสมา
หนึ่งซองมือ หุงเนยใสนั้นกับยาต่าง ๆ แล้วให้ภรรยาเศรษฐีนอนหงายบนเตียง ให้นัตถุ์ยานั้น
เพราะการนัตถุ์ยาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ทำให้โรคปวดศีรษะของภรรยาเศรษฐีซึ่งเป็นมา 7 ปี
หายเป็นปลิดทิ้ง
* ติงสกกัณฑวรรณนา ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓, มก. เล่ม 3 หน้า 1,047.
334 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก