ข้อความต้นฉบับในหน้า
ระหว่างเดินทางได้เสวยพระกระยาหารที่ไม่คุ้นเคยอาหารจึงไม่ย่อยด้วยดี และเพราะทรง
เหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกลจึงเป็นเหตุให้พระองค์สวรรคตในที่สุด
การที่อาหารไม่ย่อยหรือย่อยยากนั้นจึงมีโทษมากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระภิกษุใน
สมัยพุทธกาลจึงแก้ไขด้วยการฉันยาคูหรือข้าวต้มในเวลาเช้า เพราะยาคูมีอานิสงส์ 5 ประการ
คือ “บรรเทาความหิว ระงับความกระหาย ให้ลมเดินคล่อง ชำระลำไส้ และเผาอาหารที่ยังไม่
ย่อยให้ย่อย”
4) เป็นผู้เที่ยวในกาลสมควร
ประเด็นนี้มุ่งการงดเที่ยวในเวลาไม่สมควรโดยเฉพาะการเที่ยวกลางคืน เพราะจะเป็น
เหตุให้ต้องนอนดึก หรือบางครั้งไม่ได้นอนซึ่งจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าไม่
เที่ยวกลางคืน ก็จะมีโอกาสพักผ่อนได้เต็มที่ สุขภาพก็จะสมบูรณ์แข็งแรง การแพทย์ในปัจจุบัน
พบว่า การนอนดึกจะทำให้ร่างกายอ่อนล้าเหมือนกับเครื่องยนต์ “overload” เป็นเหตุให้อายุสั้น
การนอนดึกอย่างต่อเนื่องจึงเป็นการเร่งวันตายให้ตัวเอง
5) ประพฤติพรหมจรรย์
มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ ผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์โดยเฉพาะนักบวชนั้นจะมีสุขภาพ
แข็งแรงและอายุยืนกว่าบุคคลทั่วไปเมื่อปีที่แล้วสำนักข่าวโซหูเน็ตของจีนรายงานว่า พบหลวงจีน
มรณภาพรูปหนึ่ง ที่วัดหลิงฉวน อำเภออันหยาง ในมณฑลเหอหนัน ซึ่งมีนามว่า อู่อวิ๋นชิง อายุ
160 ปี ท่านเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1838 (พ.ศ.2381) เมื่ออายุ 15 ปีบิดามารดาเสียชีวิต หลังจาก
นั้นท่านจึงออกบวช จนกระทั่งมรณภาพด้วยโรคชราเมื่อปี ค.ศ.1998 (พ.ศ.2541)
ในเมืองไทยก็มีนักบวชหลายท่านที่มีอายุยืนเกิน 100 ปี เช่น หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน
เป็นต้น ท่านมีอายุถึง 135 ปี หลวงปู่ละมัยเป็นเจ้าสำนักสงฆ์สวนป่าสมุนไพร อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
แม้ท่านจะมีอายุมากแล้ว แต่เส้นผมยังดกดำ สุขภาพแข็งแรง พระที่มีอายุยืนกว่านี้ยังมีอยู่อีก
ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 21 หน้า 209.
ยาคุสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 22 ข้อ 207 หน้า 350-351.
* พิราภรณ์ บุตรหนัน (2551) “อันตรายจากการนอนดึก.” [ออนไลน์].
ผู้จัดการ (2550). “พบร่างหลวงจีนอายุ 160 ปีที่เหอหนันไม่เน่าไม่เปื่อย” [ออนไลน์].
* คมชัดลึก (2550). “พบหลวงปู่อายุ135ปีแก่กว่าหญิงญี่ปุ่นที่ลงกินเนสส์บุ๊ค.” [ออนไลน์].
บ ท ที่ 1 1 แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 321