ข้อความต้นฉบับในหน้า
อยู่ดีมีสุข ปราศจากโจรผู้ร้ายแล้ว สาเหตุที่ต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อน เพราะต้องการช่วย
เหลือกลุ่มคนที่เดือดร้อนมากที่สุดก่อน คล้ายๆ กับการรักษาโรคต้องรักษาคนที่เจ็บป่วยหนัก
ก่อน ส่วนคนที่ยังช่วยตัวเองได้เอาไว้ทีหลัง หากไม่คำนึงถึงตรงนี้ คนป่วยหนักก็จะไม่ได้รับการ
รักษาอย่างทั่วถึง โรคอันเกิดจากคนป่วยเหล่านี้ ก็จะยังคงระบาดต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
6.9.7 คุณสมบัติของผู้ปกครองและที่ปรึกษา
จากที่ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของพระเจ้ามหาวิชิตราช 8 ประการและคุณสมบัติของ
ปุโรหิต 4 ประการซึ่งเป็นบริวารของยัญนั้น ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ปกครองและที่ปรึกษา
จะเห็นว่าพระราชานั้นมีความสมบูรณ์พร้อมในทุกด้าน ทั้งชาติตระกูล บุคลิก ทรัพย์สมบัติ
กองทัพ ความรู้ และทรงมีพระราชศรัทธาในการให้ทาน ส่วนปุโรหิตนั้นก็มีคุณสมบัติที่สำคัญ
พรั่งพร้อมสำหรับการเป็นที่ปรึกษาที่ดี คือ มีชาติตระกูลดี เป็นผู้คงแก่เรียน มีศีล และที่สำคัญ
ท่านเป็นบัณฑิตมีปัญญาเฉียบแหลม
คุณสมบัติเหล่านี้มีความสำคัญมาก เพราะการจัดทำพิธีบูชามหายัญซึ่งเป็นงานใหญ่
ให้สำเร็จสมบูรณ์ก็ดี หรือการบริหารประเทศให้ดำเนินไปด้วยดีนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือ
จากประชาชนทั้งแผ่นดิน พระราชาในฐานะเป็นศูนย์รวมใจ จะต้องได้รับการยอมรับนับถือ ไม่มี
ข้อตำหนิทั้งทางกายภาพและจิตใจ เพื่อป้องกันความกินแหนงแคลงใจ การดูถูกในใจอยู่ลึกๆ
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลระดับบน ส่วนปุโรหิตซึ่งเป็นผู้วางแผนงานทั้งปวง
ก็จะต้องมีคุณสมบัติที่กล่าวมานี้ เป็นฐานในการทำงานใหญ่ต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จ
6.9.8 การพัฒนาจิตใจของผู้ปกครองประเทศ
ยัญวิธี 3 ประการ คือ การให้พระราชารักษาใจให้ผ่องใส ไม่เสียดายว่าทรัพย์หมด
เปลืองไป กล่าวคือ เมื่อตัดสินว่าจะให้ทานแล้ว ก็ต้องตัดใจให้ขาดจากทานนั้นด้วย จึงจะทำให้
เกิดบุญมาก และที่สำคัญ ยัญวิธีนี้เป็นกุศโลบายขยายใจผู้นำให้ใหญ่ครอบคลุมทั้งประเทศ
ขยายใจผู้นำให้มีความเมตตากรุณาต่อคนทั้งแผ่นดินทั่วหน้า ไม่เห็นแก่ความสิ้นเปลือง เป็นการ
ให้ด้วยความเต็มใจและจริงใจ
ประชาชนผู้รับทานก็จะสัมผัสความเต็มใจนี้ ได้จากพระพักตร์ที่ผ่องใสอันเกิดจาก
จิตใจที่ชื่นบานเพราะมหาทานของพระราชา จะสร้างความประทับใจแก่ประชาชนพลเมืองทั้ง
แผ่นดิน และส่งผลให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาประเทศร่วมกับพระราชา
บทที่ 6 รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก DOU 149