ข้อความต้นฉบับในหน้า
5) ถามปัญหาเพราะคิดว่า ถ้าผู้ตอบสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องก็เป็นการดี แต่ถ้าตอบ
ไม่ถูกต้องผู้ถามก็ตั้งใจว่าจะอธิบายคำตอบที่ถูกต้องให้เขาทราบ แต่ไม่ได้มีความประสงค์ดูหมิ่น
หรือทดลองภูมิรู้ผู้ตอบ
ความปรารถนาลามก หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นคิดว่าตนเองมีความดีอย่าง
นั้นอย่างนี้ทั้ง ๆ ที่ตนไม่ได้มีความดีเช่นนั้นจริง กรณีผู้ถามปัญหาเพราะมีความปรารถนาลามก
ได้แก่ ปรารถนาให้ผู้ตอบหรือผู้ฟังสรรเสริญว่า ผู้ถามเป็นคนใคร่ในการศึกษา ทั้งที่ความจริง ผู้
ถามไม่ได้เป็นคนเช่นนั้น เป็นต้น
การถามปัญหาเพราะความดูหมิ่น หมายถึง ผู้ถามรู้สึกดูถูกดูหมิ่นภูมิรู้ภูมิธรรมของผู้
แสดงธรรม จึงพยายามถามปัญหายากๆ เพื่อให้เขาตอบไม่ได้ จะได้เขินอายและเสียหน้า ทั้ง ๆ
ที่ผู้ถามอาจจะรู้คำตอบนั้นอยู่แล้ว แต่ต้องการถามเพื่อทดลองภูมิรู้ผู้แสดงธรรมเท่านั้น
สำหรับวิธีการตอบปัญหาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเรียกว่า “ปัญหาพยากรณ์” คำ
ว่า “พยากรณ์ แปลว่า ตอบปัญหา” นั่นเอง ซึ่งปัญหาพยากรณ์มี 4 ประการดังนี้
9.7.2 ปัญหาพยากรณ์ 4 ประการ
1) เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่พึ่งตอบโดยนัยเดียว
2) ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่พึ่งย้อนถามแล้วจึงตอบ
3) วิภัชชพยากรณียปัญหา
4) ฐปนียปัญหา
ปัญหาที่พึ่งจำแนกแล้วจึงตอบ
ปัญหาที่พึงงดตอบ
เอกังสกรณียปัญหา ได้แก่ ถ้าถูกถามว่าดวงตาไม่เที่ยงหรือ? ก็จะตอบโดยนัยเดียวว่า
ไม่เที่ยง เมื่อถูกถามว่าจมูกไม่เที่ยงหรือ ก็จะตอบโดยนัยเดียวว่าไม่เที่ยง เป็นต้น
ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ได้แก่ ถ้าถูกถามว่า “ดวงตา” ฉันใด “หู” ก็ฉันนั้นหรือ และ
“หู” ฉันใด “ดวงตา” ก็ฉันนั้นหรือ? ปัญหานี้ต้องย้อนถามว่าผู้ถาม ถามโดยมุ่งหมายถึงอะไร
เมื่อเขาตอบว่าถามโดยมุ่งหมายถึงคุณสมบัติในการ “เห็น” ก็ต้องตอบว่า ไม่ใช่ เพราะ “หู”
ไม่มีคุณสมบัติเช่นนั้น แต่ถ้าเขามุ่งหมายถึงความ “ไม่เที่ยง” ก็ต้องตอบว่า ใช่ เพราะทั้ง “ดวงตา”
และ “หู” เป็นของไม่เที่ยงเหมือนกัน
ปัญหาปุจฉาสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 165 หน้า 347.
สังคีติสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มจร. เล่ม 11 ข้อ 312 หน้า 29.
262 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก