ข้อความต้นฉบับในหน้า
คอมพิวเตอร์, ครอบครัววอลล์ตัน แห่งศูนย์การค้าวอลล์มาร์ต, เท็ด เทอร์เนอร์ ผู้ก่อตั้งสำนัก
ข่าวซีเอ็นเอ็น, เจฟฟรี สกอลล์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต
ชื่อ อีเบย์ (eBay), จอห์น อาร์ อาล์ม ประธาน บริษัท โคคา-โคลา เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นต้น
นอกจากในสหรัฐอเมริกาแล้ว ปัจจุบันมหาเศรษฐีทั่วโลกได้ทยอยตั้งมูลนิธิการกุศล
ของตนเองขึ้นมา ซึ่งกำลังผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดไปทั่วโลก เช่น ในเยอรมนี ปัจจุบันมูลนิธิของ
เอกชนในเยอรมนีได้เพิ่มขึ้นจาก 4,000 แห่ง ในปี พ.ศ. 2540 เป็น 13,000 แห่งในปี พ.ศ.2549
และจากข้อมูลของธนาคารชั้นนำแห่งหนึ่งในสวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่าลูกค้าระดับมหาเศรษฐี
ประมาณ 1 ใน 4 แสดงความจำนงที่จะบริจาคเงินส่วนหนึ่งเพื่อการกุศล ขณะที่ 40% กำลัง
พิจารณาในเรื่องนี้ และ 15% เริ่มนำเรื่องบริจาคมาพูดถึงแล้ว
นิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ ฉบับวันที่ 25 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ได้ตั้งข้อสังเกต
ถึงสาเหตุหลักของการให้ของมหาเศรษฐีเหล่านี้ว่าคนรวยมักต้องการตอบแทนต่อบางสิ่งที่ช่วยให้
พวกเขาประสบความสำเร็จ เช่น บริจาคเงินแก่โรงเรียนที่ตนเคยเรียน บางคนให้การสนับสนุน
โรงพยาบาลหรือการวิจัยยารักษาโรค ซึ่งเคยทำร้ายคนใกล้ชิดของพวกเขา หรือบางคนก็ช่วยเหลือ
ประเทศยากจนซึ่งพวกเขาเคยไปเยือน ส่วนสาเหตุรองของการให้ อาจมาจากมาตรการจูงใจ
ทางภาษี เพราะบางประเทศเงินบริจาคสามารถนำไปหักภาษีเงินได้
2
สาเหตุการให้ทานที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงสาเหตุที่พบและวิเคราะห์ได้ในปัจจุบันชาติ
เท่านั้น ส่วนสาเหตุสำคัญที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น คือ อุปนิสัยรักการให้ทานที่ติดตัวมาข้ามชาติ ส่ง
ผลให้มหาเศรษฐีเหล่านี้ดำเนินชีวิตเช่นเดิมอีกในชาตินี้ แม้ในชาตินี้พวกเขาจะไม่ค่อยได้ให้
ทานแก่เนื้อนาบุญ เพราะเกิดในประเทศที่มีความเชื่อต่างไปจากคำสอนในพระพุทธศาสนา แต่
ประเด็นที่กล่าวมานี้ ต้องการชี้ให้เห็นอุปนิสัยที่ติดตัวข้ามชาติเป็นหลัก
8.5.2 อริยทรัพย์กลยุทธ์สร้างความสุขในทุกยุคสมัย
เศรษฐศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับความสุขและทุกข์ของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เพราะเศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่กำหนดทิศทางเศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องอาชีพความเป็นอยู่
และปากท้องของคนในสังคม หลักการของทฤษฎีการสร้างความสุขในสังคมทุนนิยมของ
เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ได้แก่
1) การบริโภคเป็นหนทางเดียวในการสร้างความสุข การทำงานเป็นเพียงวิธีการได้เงิน
มาเพื่อใช้จ่ายในการบริโภค
1-2 ประชาชาติธุรกิจ (2549), “นายทุน นักบุญ ปฏิวัติโลกแห่งการให้” [ออนไลน์]
222 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก