ข้อความต้นฉบับในหน้า
7.6 หมวดหมู่และจำนวนสิกขาบท
ศีลของพระภิกษุนั้นเป็น “อปริยันตปาริสุทธิศีล” หมายถึง มากมาย ไม่มีที่สุด ใน
วิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่าศีลของพระภิกษุมี 3 ล้านกว่าสิกขาบท แต่โดยรวมแล้วศีลของพระภิกษุแบ่ง
ออกเป็น 4 หมวดใหญ่ๆ เรียกว่า ปาริสุทธิศีล 4 ดังนี้ คือ
(1) ปาฏิโมกขสังวรศีล หมายถึง ศีล 227 สิกขาบท
(2) อินทรียสังวรศีล หมายถึง การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายใน
เวลาเห็นรูป เวลาได้ยินเสียง เวลาดมกลิ่น เวลาสัมผัส เวลาลิ้มรส หรือระลึกถึงอารมณ์ต่าง ๆ
(3) อาชีวปาริสุทธิศีล หมายถึง การเลี้ยงชีพชอบ เลี้ยงชีพด้วยวิสัยของสมณะ คือ
การปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมวินัย แล้วอาศัยปัจจัย 4 ที่ญาติโยมถวายด้วยศรัทธาเลี้ยงชีพ
ไม่เลี้ยงชีพด้วยการประกอบอาชีพอย่างฆราวาส หรือไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต กล่าวคือ บวชแล้ว
ไม่ได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่อาศัยผ้าเหลืองเพื่อเลี้ยงชีพ เป็นต้น
(4) ปัจจัยสันนิสสิตศีล หมายถึง ศีลที่ว่าด้วยการให้พิจารณาปัจจัย 4 คือ จีวร บิณฑบาต
ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคก่อนบริโภค ไม่บริโภคด้วยตัณหาความมัวเมา โดยให้พิจารณาว่า
เราบริโภคสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ยังชีพอยู่ได้เท่านั้น จะได้บำเพ็ญสมณธรรมได้สะดวก
ปาริสุทธิศีล 4 นี้ยังมีรายละเอียดอีกมาก ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะปาฏิโมกข์สังวรศีล
คือ ศีล 227 สิกขาบทเท่านั้นเพราะบัญญัติไว้เป็นข้อ ๆ อย่างชัดเจนและมีการกำหนดโทษหนักเบา
ลดหลั่นกันไป ทำให้สะดวกต่อการเปรียบเทียบกับกฎหมายในทางโลก
ปาฏิโมกขสังวรศีล แบ่งออกเป็น 8 หมวด คือ ปาราชิก 4 สิกขาบท, สังฆาทิเสส 13
สิกขาบท, อนิยต 2 สิกขาบท, นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 สิกขาบท, ปาจิตตีย์ 92 สิกขาบท, ปาฏิ
เทสนียะ 4 สิกขาบท, เสขิยวัตร 75 สิกขาบท และอธิกรณสมถะ 7 สิกขาบท รวมทั้งหมดเป็น
227 สิกขาบท
สิกขาบทเหล่านี้ จะเรียงลำดับจากโทษหนักไปหาโทษเบา กล่าวคือ ปาราชิกมีโทษ
หนักที่สุด ส่วนสิกขาบทอื่นจะมีโทษลดหย่อนลงมาเรื่อย ๆ โดยเสขิยวัตรจะมีโทษเบาที่สุด ส่วน
อธิกรณสมถะนั้นเป็นวิธีระงับอธิกรณ์ ไม่ได้มีการกำหนดโทษเหมือนสิกขาบทหมวดอื่น เพราะ
ไม่ได้เป็นสิกขาบทที่ต้องถือปฏิบัติโดยทั่วไป แต่จะใช้เฉพาะการระงับอธิกรณ์หรือคดีความที่
เกิดขึ้นเท่านั้น
176 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก