ข้อความต้นฉบับในหน้า
แนวคิด
1. เอกภพ หมายถึง ระบบรวมของทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กที่สุดที่มอง
ไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ได้แก่ อะตอม อันประกอบด้วย โปรตอน นิวตรอน และ อิเล็กตรอน เป็นต้น
จนถึงสิ่งที่ใหญ่โตมโหฬาร ได้แก่ กาแล็กซีต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาล
2. ทฤษฎีพื้นฐานสำหรับอธิบายเอกภพมี 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ และ
ทฤษฎีควอนตัม โดยทฤษฎีสัมพันธภาพอธิบายโครงสร้างของเอกภพในระดับใหญ่ ได้แก่
กาแล็กซีและกลุ่มกาแล็กซีต่างๆ ส่วนทฤษฎีควอนตัมอธิบายเอกภพในระดับเล็ก ได้แก่ อะตอม
และ อนุภาคต่าง ๆ ส่วนทฤษฎีสำคัญที่ใช้ศึกษาสิ่งมีชีวิตในเอกภพ คือ ทฤษฎีวิวัฒนาการ
3. นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า เอกภพเกิดขึ้นจากการระเบิดครั้งใหญ่ โดยระเบิด
จากจุดศูนย์กลางทำให้ฝุ่นละอองต่างๆ กระจายตัวออก แล้วมารวมตัวกันเป็นเกลียวเรียกว่า
กาแล็กซี จากนั้นก็เกิดระบบใหญ่ขึ้นเรียกว่า เอกภพ โดยมีจุด “Singularity” เป็นจุดศูนย์กลาง
4. โครงสร้างของเอกภพแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 3 ส่วน คือ กาแล็กซี, กระจุกหรือกลุ่ม
ของกาแล็กซี และ ะซูเปอร์คลัสเตอร์หรือกลุ่มของกระจุกกาแล็กซี
5. หลุมดำตามความเชื่อเดิม คือ เขตแดนที่อวกาศมีความโค้งงอมาก และแรงโน้มถ่วง
มีกำลังสูงมากจนแสงไม่อาจเล็ดลอดออกมาได้ แต่ตามหลักความไม่แน่นอนของกลศาสตร์
ควอนตัมพบว่า อนุญาตให้แสงได้เล็ดลอดออกมาได้บ้าง
6. จีโนม หมายถึง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำหน้าที่กำหนดลักษณะเฉพาะของ
สิ่งมีชีวิตทุกชนิด จีโนมจะบรรจุอยู่ในศูนย์กลางนิวเคลียสของเซลล์แต่ละเซลล์ และภายใน
จีโนมจะประกอบด้วยโครโมโซม ยืนและดีเอ็นเอ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับเอกภพดังนี้ คือ ความ
หมายของเอกภพ, ทฤษฎีสำคัญสำหรับศึกษาเอกภพ, การกำเนิดและโครงสร้างของเอกภพ,
หลุมดำและจีโนมหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 3 ความรู้พื้นฐานเรื่องเอกภพ DOU 43