วิธีระงับอธิกรณ์ที่มีเสียงเซ็งแซ่ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 202
หน้าที่ 202 / 373

สรุปเนื้อหา

ในกรณีที่ไม่สามารถระงับอธิกรณ์ได้ พร้อมกับมีเสียงเซ็งแซ่ที่ทำให้ไม่สามารถจับใจความคำพูดได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้ใช้วิธีการเรียกว่า 'อุพพาฬิกวิธี' โดยการตั้งผู้มีองค์คุณ 10 ประการขึ้นมาเป็นตัวแทนในการตัดสิน โดยองค์คุณที่กล่าวถึงรวมถึงการมีศีลและการมีความเข้าใจในพระธรรมคำสอน นอกจากนี้การแต่งตั้งภิกษุผู้เข้มแข็งให้เป็นตัวแทนในการระงับอธิกรณ์นั้นต้องมีการประกาศโดยญัตติทุติยกรรมวาจา.

หัวข้อประเด็น

-การระงับอธิกรณ์
-อุพพาฬิกวิธี
-องค์คุณ 10 ประการ
-การวินิจฉัย
-การแต่งตั้งตัวแทน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1.2) วิธีระงับอธิกรณ์ที่มีเสียงเซ็งแซ่ ถ้ายังระงับอธิกรณ์ไม่ได้ และในระหว่างวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้น จน จับใจความคำพูดต่างๆ ไม่ได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ใช้ “อุพพาฬิกวิธี” เข้าช่วยระงับอธิกรณ์ นั้น โดยเบื้องต้นให้สงฆ์สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ 10 ประการขึ้นก่อน อุพพาฬิกวิธี แปลว่า การเลือกแยกออกไป คล้าย ๆ กับการตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้น มาเพื่อช่วยวินิจฉัยคดีความ องค์คุณ 10 ของผู้ควรได้รับสมมติ (1) เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปรกติเห็น ภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย ตั้งใจศึกษาและรักษาสิกขาบททุกข้อเป็นอย่างดี (2) เป็นพหูสูต กล่าวคือ เป็นผู้ฟังพระธรรมคำสอนมามาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก และ แทงตลอดในพระธรรมคำสอนเหล่านั้น (3) จำปาฏิโมกข์ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี สวดดี วินิจฉัยถูกต้อง (4) เป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ไม่คลอนแคลน (5) เป็นผู้อาจชี้แจงให้คู่ต่อสู้ในอธิกรณ์ยินยอม เข้าใจ เพ่งเห็น เลื่อมใส (6) เป็นผู้ฉลาดเพื่อยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้นให้ระงับ (7) รู้อธิกรณ์ (8) รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ (9) รู้ความระงับแห่งอธิกรณ์ (10)รู้ทางระงับอธิกรณ์ วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา เมื่อหาภิกษุผู้มีองค์คุณ 10 ประการนี้ได้แล้ว ก็ให้สงฆ์สมมติภิกษุรูปนี้ขึ้นเป็นตัวแทน ในการระงับอธิกรณ์ โดยให้ภิกษุผู้ฉลาดประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิด ขึ้นและไม่ทราบเนื้อความแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้นถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง สมมติภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาฬิกวิธี นี้เป็นญัตติ” บ ท ที่ 7 นิ ติ ศ า ส ต ร์ ใน พระไตรปิฎก DOU 191
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More