ข้อความต้นฉบับในหน้า
แนวคิด
1. วาจาสุภาษิตอันเป็นหลักพื้นฐานของการพูดนั้นมีอยู่ 5 ประการ คือ เป็นคำจริง
เป็นคำสุภาพ พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ พูดด้วยจิตเมตตา และพูดถูกกาลเทศะ
2. อานิสงส์แห่งวาจาสุภาษิตมีดังนี้ คือ หากสร้างบารมีเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็จะได้ลักษณะมหาบุรุษดังนี้ เช่น มีพระทนต์ 40 องค์ เป็นต้น หากสร้างบารมีเพื่อเป็นพระสาวก
อานิสงส์ก็จะลดหย่อนลงมา และการกล่าววาจาสุภาษิตยังเป็นเหตุให้ปิดประตูอบายภูมิ มีกลิ่น
ปากหอม มีเสียงไพเราะ เป็นต้น ส่วนโทษของวาจาทุพภาษิตก็มีหลากหลายตามกรรมที่ทำไว้
เช่น เป็นเหตุให้ไปอบาย ถูกกล่าวหาด้วยเรื่องที่ไม่จริง เป็นต้น
3. องค์แห่งธรรมกถึกมี 5 ประการ คือ แสดงธรรมไปตามลำดับ อ้างเหตุผล แสดง
ธรรมด้วยความเอ็นดู ไม่หวังอามิส และไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น
4. การแสดงธรรมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีอย่างน้อย 4 ประการ คือ แสดง
ธรรมโดยยึดผู้ฟังเป็นศูนย์กลาง, ยกหลักการและตัวอย่างประกอบ, ใช้อุปมาอุปไมย และใช้สื่อ
ประกอบ
5. หลักการตอบปัญหาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี 4 ประการ คือ เอกังสพยากรณ์
ตอบโดยนัยเดียว, ปฏิปุจฉาพยากรณ์ ย้อนถามแล้วจึงตอบ, วิภัชชพยากรณ์ จำแนกแล้วจึงตอบ
และฐปนียปัญหา งดตอบสำหรับปัญหาที่ไม่ควรตอบ
6. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสงค์จะให้พุทธบริษัททั้ง 4 ฝึกตนให้ถึงพร้อมด้วยปริยัติ
ปฏิบัติและปฏิเวธ เพื่อประโยชน์ตนของพุทธบริษัทแต่ละท่านเอง และเพื่อปกป้องคำสอนใน
พระพุทธศาสนาจากการจาบจ้วงของศาสนิกลัทธิอื่น
วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจหลักวาทศาสตร์ในพระไตรปิฎกดังนี้ คือ วาจา
สุภาษิตหลักพื้นฐานของการพูด, อานิสงส์แห่งวาจาสุภาษิต, โทษของวาจาทุพภาษิต, องค์แห่ง
ธรรมกถึก, หลักการแสดงธรรมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล, หลักการตอบปัญหาของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และการโต้วาทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพุทธบริษัท
บทที่ 9 ว า ท ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 235