การคบคนและการปฏิบัติในห้องนอน GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 120
หน้าที่ 120 / 373

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงความสำคัญของการคบคนดีและหลีกเลี่ยงคนที่ไม่ดี โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นผู้มีพระคุณ เช่น บิดามารดา สามารถช่วยกันทำบุญและฟังธรรมเพื่อลดนิสัยไม่ดี นอกจากนี้ยังมีวิธีการใช้ห้องนอนที่ถูกต้องเพื่อพัฒนานิสัยที่ดี เช่น ปฏิบัติธรรมก่อนนอน และตื่นเช้าด้วยการฝึกความมีสติเสมอ.

หัวข้อประเด็น

-คบคนดี
-พัฒนานิสัย
-การใช้ห้องนอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

และในที่สุดเราก็จะทำสิ่งที่ไม่ดีนั้นเป็นประจำด้วย นั่นหมายถึงเราติดนิสัยที่ไม่ดีจากทิศทั้ง 6 นั้นมาแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่า “บุคคลคบคนเช่นใดย่อมเป็นเหมือนคนเช่นนั้น” ด้วยเหตุนี้จึงควรคบแต่คนดีและหลีกหนีให้ห่างไกลจากคนพาล ถามว่าหากคนพาลนั้นเป็นคนที่ มีพระคุณต่อเราหรือเป็นคนที่เราจำเป็นต้องอยู่ด้วย จะทำอย่างไร เช่น บิดามารดา เป็นต้น หากเป็นเช่นนี้เราคงหลีกหนีไม่ได้ แต่ให้เราอยู่กับท่านอย่างมีสติ ไม่รับนิสัยไม่ดีต่างๆ มาสู่เรา และอดทนคอยเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ท่าน เช่น ชวนบิดามารดามาทำบุญและฟังธรรมที่วัดใน โอกาสต่าง ๆ เมื่อท่านได้ทำบุญและฟังธรรมบ่อยๆ นิสัยไม่ดีในตัวท่านก็จะลดลงเอง (4) วิธีการใช้ห้อง วิธีการใช้ห้องที่ถูกต้องนั้นมีหลักการสำคัญเช่นเดียวกันคือ “ต้องใช้ แล้วก่อให้เกิดนิสัยที่ดีแก่เรา” เช่น ห้องนอนควรมีวิธีการใช้ห้องตอนก่อนนอน ขณะนอน และ หลังจากตื่นนอนดังต่อไปนี้ 1.) เข้าห้องนอนไม่ควรเกิน 4 ทุ่ม 2.) สวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน 3.) นั่งสมาธิและแผ่เมตตาก่อนนอน 4.) นึกถึงบุญและอธิษฐานจิตก่อนนอน 5.) นอนในอู่แห่งทะเลบุญคือ จรดจิตไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 และนึกถึงองค์พระหรือ ดวงแก้วไปจนกว่าจะหลับ ถ้าหากทำได้ควรนอนตะแคงขวาหรือสำเร็จสีหไสยาสน์ เพราะเป็นท่า นอนที่ทำให้มีสติและส่งผลดีต่อสุขภาพมากที่สุด 6.) ตื่นนอนแต่เช้า 7.) เมื่อตื่นนอนก็ให้ตื่นในอู่แห่งทะเลบุญ คือ เมื่อตื่นก็ให้นำใจไปจรดไว้ที่ศูนย์กลาง- กายแล้วนึกว่า “เราโชคดีที่รอดมาได้อีกหนึ่งวัน ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข อันตัว เรานั้นตายแน่ตายแน่” จะได้ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตตลอดทั้งวัน 8.) เก็บที่นอนพับให้เรียบร้อย ฯลฯ เมื่อเราปฏิบัติตามวิธีการใช้ห้องนอนเช่นนี้ จะทำให้เราเป็นคนตรงต่อเวลา รักในการ สั่งสมบุญ มีจิตเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นคนไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต และเป็นคนรัก บทที่ 5 ม นุ ษ ย ศ า ส ต ร์ในพระไตรปิฎก DOU 109
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More