กลุ่มเป้าหมายและปัญหาทางเศรษฐกิจในสังคมไทย GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 156
หน้าที่ 156 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการจำแนกกลุ่มในสังคมไทย แบ่งออกเป็นระดับล่างและระดับบน โดยมีการวิเคราะห์ถึงบทบาทของแต่ละกลุ่มต่อการเมืองและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายถึงปัญหาการเป็นโจรของชาวชนบทที่เกิดจากกิเลสและความยากจน ซึ่งสะท้อนถึงความท้าทายทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคม ยกตัวอย่างกลุ่มเกษตรกร พ่อค้าย่อย และกลุ่มผู้มีอำนาจในทางการเมืองในประเทศไทย

หัวข้อประเด็น

-กลุ่มเกษตรกร
-กลุ่มข้าราชการ
-กลุ่มธุรกิจ
-ปัญหาเศรษฐกิจ
-การปราบโจร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(1) กลุ่มเกษตรกร ได้แก่ ชาวนา ชาวไร่ ผู้ทำการเกษตรและกสิกรรม (2) กลุ่มพ่อค้าย่อย ได้แก่ พ่อค้า แม่ค้า ผู้ประกอบอาชีพอิสระทั้งหลาย (3) กลุ่มข้าราชการชั้นผู้น้อย และผู้รับจ้างในวงราชการ ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาอุตสาหกรรม ทำให้เกิดกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นมา คือ กรรมกร ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งก็อาจจะรวมอยู่ในกลุ่มที่หนึ่งของระดับล่าง คือ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเป้าหมายระดับบน 4 กลุ่ม กลุ่มเป้าหมายระดับบน ถือเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในแผ่นดิน หากเทียบปริมาณแล้ว กลุ่ม นี้มีจำนวนน้อยกว่าคน 3 กลุ่มในระดับล่างมาก แต่แม้จะมีปริมาณน้อย ถึงกระนั้นกลุ่มคน เหล่านี้ก็มีอิทธิพลมากต่อการเมืองการปกครอง ซึ่งมีดังนี้ (1) กลุ่มเจ้าเมืองประเทศราช หากเทียบกับในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มนักการเมืองระดับ ชาติ เช่น สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.), สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.), คณะรัฐมนตรี ฯลฯ กลุ่มคน เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ (2) กลุ่มอำมาตย์ราชบริพารผู้ใหญ่หากเทียบกับในปัจจุบันได้แก่ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น เสนาธิการ, ปลัดกระทรวง, อธิบดี, ผู้ว่าราชการจังหวัด, ผู้บัญชาการทหารทุกเหล่า ฯลฯ ซึ่งถือเป็นกลุ่มรับนโยบายไปปฏิบัติ (3) กลุ่มพราหมณ์มหาศาล หากเทียบกับในปัจจุบัน ได้แก่ ผู้นำทางความคิด นักวิชาการใหญ่ สื่อมวลชนใหญ่ ซึ่งเป็นสถาบันทางความคิดที่ถ่วงดุลอำนาจรัฐโดยการชี้นำ ประชาชน (4) กลุ่มคหบดีมหาศาล หากเทียบกับในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจใหญ่ๆ หรือ พวก พ่อค้าระดับประเทศ เป็นกลุ่มที่มีทรัพย์มาก มีบริวารซึ่งเป็นชนในระดับล่างมาก 6.9.3 การปราบโจรที่ต้นเหตุคือเศรษฐกิจ หากถามว่า ทำไมชาวชนบทบางกลุ่มของพระเจ้ามหาวิชิตราชจึงต้องเป็นโจร คำตอบ คงมีหลากหลาย แต่เมื่อย้อนกลับไปทบทวน “หัวข้อประวัติศาสตร์โลกและมนุษยชาติ” ใน เรื่องมนุษยศาสตร์ในพระไตรปิฎกจะพบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเป็นโจรมีอยู่อย่างน้อย 2 ประการคือ กิเลสคือความโลภในตัวบีบบังคับ และความยากจนอันเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นแรงกดดัน บทที่ 6 รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก DOU 145
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More