ข้อความต้นฉบับในหน้า
9.6.3 แสดงธรรมโดยใช้อุปมาอุปไมยประกอบ
คำว่า “อุปมา” หมายถึง สิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบเทียบ มักใช้เข้าคู่กับอุปไมยใน
ประโยคเช่นเรื่องนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ส่วนคำว่า “อุปไมย” หมายถึง สิ่งหรือข้อความที่
พึงเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
จากความหมายของคำว่า อุปมาและอุปไมย ข้างต้นจะเห็นว่าจุดประสงค์สำคัญของ
การพูดโดยใช้อุปมาอุปไมย คือ “เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง” เพราะโดยหลักแล้วการที่มนุษย์
จะเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นความรู้ใหม่ที่ตนไม่เคยศึกษามาก่อน ผู้สอนจำเป็นต้องยก
ตัวอย่างเรื่องต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกันซึ่งผู้เรียนเคยมีประสบการณ์มาเปรียบเทียบ จึงจะทำให้
ผู้เรียนเข้าใจในเรื่องใหม่นั้นได้ง่ายขึ้น หากหาตัวอย่างที่คล้ายๆ กันมาเปรียบเทียบไม่ได้ ก็ให้
ยกตัวอย่างที่ตรงกันข้ามมาเปรียบเทียบ เช่น มนุษย์เข้าใจและตระหนักถึงความดีมากขึ้น เมื่อ
มีสิ่งที่ชั่วร้ายมาเปรียบเทียบ เราเรียกช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกว่าเป็น
“กลางวัน” เพราะมันต่างจากตอน ”กลางคืน” ที่ไม่มีแสงอาทิตย์ เป็นต้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก
สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิตเท่านั้นจึงจะรู้ได้....” เพราะพระธรรมคำสอน
โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องภายในจิตใจ เช่น เรื่องอวิชชา กิเลส ตัณหา ศรัทธา สมาธิ ปัญญา
เป็นต้น คำสอนเหล่านี้ไม่อาจจะมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึง
จำเป็นต้องสอนโดยใช้อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบเรื่องเหล่านี้กับสิ่งต่างๆ ที่พุทธบริษัทสามารถ
มองเห็น ได้ด้วยตาเนื้อ หรือ เปรียบเทียบกับพื้นฐานความรู้เดิมของผู้ฟัง จึงจะทำให้เกิดการ
เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งได้ ดังคำกล่าวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสาวกมักพูดถึงก่อน
การยกอุปมาขึ้นแสดงว่า “วิญญูชนหรือคนฉลาดบางพวกในโลกนี้ย่อมเข้าใจความหมายแห่ง
ถ้อยคำได้ด้วยอุปมาโวหาร”
จากการค้นข้อมูลในพระไตรปิฎกภาษาไทย 45 เล่มด้วยคอมพิวเตอร์ พบคำว่า “อุปมา,
อุปไมย, เปรียบเหมือน, เปรียบด้วย, เปรียบเทียบ, ฉันใด และ ฉันนั้น” รวม ๆ กันประมาณ 4,219
หน้า จึงชี้ให้เห็นว่า การพูดการเทศน์การสอนโดยใช้วิธีอุปมาอุปไมยนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระอริยสาวกให้ความสำคัญมาก พระพุทธองค์ทรงอุปมาร่างกายดุจเมืองบ้าง ดุจจอม
1 ราชบัณฑิตยสถาน (2525) พจนานุกรม (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์).
* มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ โอปัมมวรรค หลักการแสดงธรรมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
บทที่ 9 ว า ท ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 253