อริยทรัพย์และเศรษฐศาสตร์จุลภาคในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 217
หน้าที่ 217 / 373

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้กล่าวถึงอริยทรัพย์ที่นำมาซึ่งความสุขที่แท้จริงแก่มนุษย์ อย่างเช่น การบวชเพื่อแสวงหาอริยทรัพย์ แม้จะมีทรัพย์สินจำนวนมากก็ยังยินดีที่จะละทิ้งเพื่อสืบสานทางธรรมและความสุขในจิตใจ การศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาคจากพระไตรปิฎกสอนว่าโภคทรัพย์ควรเป็นเครื่องมือในการสร้างบุญและดูแลกาย ส่วนอริยทรัพย์เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงใจเพื่อไม่ให้เกิดทุกข์ ทั้งนี้การแสวงหาอริยทรัพย์ร่วมกับโภคทรัพย์จะนำมาซึ่งชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืนและใช้โภคทรัพย์ในทางที่ถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของอริยทรัพย์
-เศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก
-บทบาทของโภคทรัพย์
-การมีชีวิตอย่างมีความสุข
-การบวชและการแสวงหาอริยทรัพย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นเมื่อได้ฟังธรรมนี้ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้า พระองค์จักพากันรักษาอุโบสถศีลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป” จะเห็นว่าอริยทรัพย์ ได้แก่ ศีล เป็นต้น มีความสำคัญตรงที่ให้ความสุขที่แท้จริงอัน เป็นความสุขที่มั่นคงแก่มนุษย์ได้ เป็นความสุขที่โภคทรัพย์ไม่อาจจะให้ได้ ด้วยเหตุนี้เจ้าชายสิทธัตถะโพธิสัตว์ก็ดี บรรดาสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี ต่าง พากันละทิ้งโภคทรัพย์จำนวนมหาศาล คนละ 40 โกฏิบ้าง 80 โกฏิบ้าง เพื่อออกบวช แม้แต่ ชฎิลเศรษฐีและโชติกเศรษฐี ซึ่งมีสมบัติตักไม่พร่องก็ยังละโภคสมบัตินั้น เพื่อออกบวชแสวงหา อริยทรัพย์เช่นกัน บางท่านออกบวชแล้วบิดามารดาปรารถนาจะให้ลาสิกขา โดยเอาสมบัติกอง โตมาล่อก็ไม่ยอม เช่น พระรัฏฐปาละ เป็นต้น บิดาของท่านกล่าวว่า “พ่อรัฏฐปาละ ทรัพย์กองนี้เป็นส่วนของแม่ กองโน้นเป็นส่วนของ พ่อ ส่วนอีกกองหนึ่งเป็นของปู่ ทั้งหมดนี้เป็นของลูกผู้เดียว ลูกสามารถที่จะใช้สอยสมบัติไป และทำบุญไปก็ได้ พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงลาสิกขาออกมาใช้สอยสมบัติเถิด” พระรัฏฐปาละตอบว่า “คหบดี ท่านจึงให้คนขนกองเงินกองทองนี้ไปทิ้งไว้ที่แม่น้ำคงคา เถิด เพราะความทุกข์กายและใจอันมีทรัพย์นั้นเป็นเหตุจักเกิดขึ้นแก่ท่าน โภคทรัพย์นั้นมีไว้เพื่อเป็นเครื่องสนับสนุนให้แสวงหาอริยทรัพย์ได้สะดวก ด้วยการนำ มาสร้างบุญ เช่น ให้ทาน เป็นต้น และเพื่อนำมาหล่อเลี้ยงร่างกายให้มีเรี่ยวแรงในการปฏิบัติ- ธรรม สำหรับคฤหัสถ์ที่ไม่ได้ออกบวชเป็นบรรพชิตนั้น หากได้แสวงหาอริยทรัพย์ควบคู่ไปกับ โภคทรัพย์แล้ว จะทำให้ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขยิ่ง กล่าวคือ มีโภคทรัพย์เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงกาย และมีอริยทรัพย์เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงใจ อีกทั้งอริยทรัพย์ยังช่วยกำกับให้คนใช้โภคทรัพย์ไปใน ทิศทางที่ถูกต้อง จะไม่ทำผิดศีลผิดธรรมอันจะต้องชดใช้หนี้กรรมในอนาคต 8.3 เศรษฐศาสตร์จุลภาคในพระไตรปิฎก เป้าหมายสูงสุดของเศรษฐศาสตร์ คือ การศึกษาเพื่อทำให้ประชาชนในประเทศอยู่ดีกิน ดี ไม่อดอยากยากจน ในหัวข้อนี้นักศึกษาจะได้ศึกษาหลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคในพระไตรปิฎก ซึ่งกล่าวถึงสาเหตุแห่งการอยู่ดีกินดีหรือร่ำรวย และสาเหตุแห่งความอดอยากยากจนของ มนุษย์แต่ละคน รวมทั้งอาชีพที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอนุญาตและอาชีพที่ทรงห้าม ในประเด็น 2 1 สักกสูตร, อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต, มก. เล่ม 38 ข้อ 46 หน้า 150. รัฏฐปาลสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มจร. เล่ม 13 ข้อ 301 หน้า 358. 206 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More