วัตถุนิยมเชิงจักรกลและทัศนะองค์รวมในการแพทย์ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 49
หน้าที่ 49 / 373

สรุปเนื้อหา

ทัศนะวัตถุนิยมเชิงจักรกลมองมนุษย์เป็นเครื่องยนต์กลไกที่จะอธิบายได้ผ่านวิทยาศาสตร์ โดยมีการแบ่งมนุษย์ออกเป็นร่างกายและจิตใจที่รองรับการบำบัดรักษา ด้วยการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ทัศนะองค์รวมมองว่าชีวิตทั้งสองส่วนคือร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันและไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งต้องใช้หลักการที่เรียกว่า องค์รวมในการอธิบายชีวิตมนุษย์ การบูรณาการจริยธรรมการแพทย์และวัฒนธรรมจึงมีความสำคัญต่อการเข้าใจความหมายของชีวิต

หัวข้อประเด็น

-วัตถุนิยมเชิงจักรกล
-ความสำคัญของพลังงานในชีวิต
-องค์รวมในชีวิตมนุษย์
-การบูรณาการจริยธรรมการแพทย์
-ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2.1) วัตถุนิยมเชิงจักรกล (Mechanical Materialism) ทัศนะนี้มองมนุษย์เป็นเหมือนเครื่องยนต์กลไก สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยวิธี การทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติโดยเฉพาะฟิสิกส์และเคมี ชีวิตมนุษย์ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ ให้ เห็นคล้ายสสารเพื่อการศึกษาวิจัยและทำการบำบัดรักษา พลังงาน นักชีวฟิสิกส์เชื่อว่า มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เป็นส่วนผสมหรือการรวมตัวกันของ สุขภาพจะดีได้ก็ต่อเมื่อมีการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนพลังงานที่ได้สัดส่วนกันระหว่างเซลล์ ต่าง ๆ ความเจ็บป่วยจะเกิดขึ้นเมื่อการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนพลังงานไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการ บำบัดรักษาจึงต้องทำให้พลังงานหมุนเวียนแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทัศนะนี้แบ่งมนุษย์ออกเป็น 2 ส่วน คือ ร่างกายกับจิตใจ ซึ่งส่วนแรกจะเป็นเนื้อหา สาระสำคัญของชีววิทยา ส่วนหลังเป็นขอบเขตของจิตวิทยา แต่ละส่วนของร่างกายและจิตใจ ก็ยังต้องมีศาสตร์เฉพาะสาขาแยกย่อยลงไปอีก เช่น ตา หู จมูก หัวใจ เป็นต้น ทัศนะนี้เน้น ความชำนาญเฉพาะด้านในลักษณะที่แยกชีวิตออกเป็นเสี่ยงๆ แม้ทัศนะนี้จะมองว่ามนุษย์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นจิตใจด้วย ถึงกระนั้นก็ยังมองว่า เป็นจิตใจแบบหุ่นยนต์ กล่าวคือ ปราศจากความรู้สึกนึกคิด เจตนา และจุดประสงค์ เมื่อชำรุด หรือสึกหรอก็จะถูกแยกส่วนออกมาซ่อมให้กลับคืนสู่ภาวะปกติเฉพาะส่วนนั้นๆ อย่างไรก็ตาม กระบวนทัศน์นี้ได้มีส่วนช่วยให้วิทยาศาสตร์สุขภาพเจริญรุดหน้าไปมาก 2.2) ทัศนะว่าด้วยองค์รวม (Holism) ทัศนะนี้เชื่อว่า ชีวิตมนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วนเช่นกัน คือ ร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็น ของเนื่องด้วยกันมิได้แยกเป็นอิสระจากกัน การแยกก็เพื่อสะดวกในทางปฏิบัติ แต่หลังจาก แยกแล้วจะมีการโยงส่วนต่างๆเข้าหากัน ทัศนะนี้มองว่าชีวิตมิอาจเข้าใจและอธิบายได้ด้วยวิธีการ ทางฟิสิกส์เคมีเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยหลักการที่เรียกว่า องค์รวม ซึ่งมองชีวิตมนุษย์เป็นระบบ ชีวิต คือ ชีวิตทั้งหมดทั้งร่างกายและจิตใจที่มีความสัมพันธ์กันอยู่เป็นอันเดียวกัน ผช.ดร.ประจิตร มหาหิง การผสมผสานระหว่างจริยธรรมการแพทย์และวัฒนธรรม เอกสารการประชุมวิชา การเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องในวโรกาส ที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบนักษัตร “การแพทย์ วัฒนธรรม และจริยธรรม” จัดโดย ม.มหิดล และ ม.สงขลานครินทร์ วันที่ 30 พ.ย.-1 ธ.ค.2538 ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร หน้า 48-49. 38 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More