การพยาบาลผู้อาพาธตามพระธรรมคำสอน GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 353
หน้าที่ 353 / 373

สรุปเนื้อหา

พระเถระแนะนำพระนางโรหิณีให้สร้างโรงฉันเพื่อทำบุญ เมื่อพระนางปฏิบัติตาม โรคผิวหนังของพระนางก็หายไป พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงกรรมของพระนางที่ทำให้ต้องประสบกับโรคนี้ในอดีต นอกจากนี้ยังมีการสอนคุณสมบัติของผู้พยาบาลที่ดี 5 ประการ ซึ่งรวมถึงการจัดยา ความเข้าใจในสิ่งที่เป็นที่สบายหรือไม่สบาย และใจเมตตา การพยาบาลไม่ได้มีเพียงแค่การรักษาร่างกาย แต่ยังรวมถึงการสร้างบุญในการช่วยเหลือผู้อื่นด้วย นักศึกษาและผู้ที่สนใจสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมในพระไตรปิฎกได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การพยาบาลผู้อาพาธ
-หลักธรรมการดูแลผู้ป่วย
-บุญและกรรมในการรักษา
-คุณสมบัติของผู้พยาบาลที่ดี
-การสร้างโรงฉันและทำบุญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หลายของท่านจึงพากันมากราบพระเถระ เว้นแต่พระน้องนางชื่อโรหิณี พระเถระถามพวกพระ ญาติว่า พระนางโรหิณีอยู่ที่ไหน? พวกพระญาติกล่าวว่า พระนางโรหิณี อยู่ในตำหนัก พระนางอาพาธเป็น “โรคผิวหนัง” ไม่ประสงค์จะมาเพราะทรงละอายที่เป็นโรคนั้น พระเถระจึงแนะนำให้พระนางทำบุญสร้างโรงฉัน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็ให้กวาดพื้น โรงฉัน ปูอาสนะ และ ตั้งหม้อน้ำดื่มไว้สำหรับพระภิกษุเสมอๆ” พระนางโรหิณีก็ได้ปฏิบัติตาม นั้นโรคผิวหนังของพระนางจึงราบลง ต่อมาพระนางได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขให้มาฉันภัตตาหาร ในครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถึงบุรพกรรมของพระนางโรหิณีว่า ในอดีตพระนางได้นำผง เต่าร้างโปรยใส่หญิงคนหนึ่ง สรีระของหญิงนั้นจึงพุพองขึ้น กรรมนั้นจึงส่งผลให้พระนางเป็น โรคผิวหนังในชาตินี้ เมื่อพระพุทธองค์แสดงธรรมจบแล้ว พระนางโรหิณีก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล สรีระของพระนางได้มีวรรณะดุจทองคำ โรคผิวหนังจึงหายเป็นปลิดทิ้งในบัดนั้น การรักษาอาพาธด้วยการสั่งสมบุญด้วยวิธีอื่น ๆ ยังมีอีกหลายประการ ซึ่งนักศึกษา สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ในพระไตรปิฎก 11.3.6 การพยาบาลผู้อาพาธ ในการพยาบาลผู้อาพาธนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงคุณสมบัติของผู้เหมาะสมที่ จะพยาบาลไว้ 5 ประการ และพระองค์ยังตรัสถึงผู้อาพาธที่พยาบาลง่ายและพยาบาลยากไว้ด้วย เพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติตนของผู้พยาบาลและผู้อาพาธทั้งหลาย 1) คุณสมบัติแพทย์และพยาบาลที่ดี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุ ผู้พยาบาลที่ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ควร พยาบาลผู้อาพาธ ธรรม 5 ประการ มีดังนี้ คือ (1) สามารถจัดยา (2) ทราบสิ่งที่สัปปายะ (เป็นที่สบาย) และสิ่งที่ไม่สัปปายะ (ไม่เป็นที่สบาย) สำหรับผู้ อาพาธ เช่น ทราบว่าอาหารใดไม่แสลงต่อโรค ก็นำอาหารนั้นมาให้ผู้ป่วยรับประทาน ส่วนอาหาร ใดแสดงต่อโรคก็ไม่นำมาให้ผู้ป่วยรับประทาน เป็นต้น (3) มีจิตเมตตาพยาบาล ไม่เห็นแก่ของรางวัล 342 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More