ข้อความต้นฉบับในหน้า
โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และโรคเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
1) โรคผิวหนัง หมายถึง โรคที่เกิดบนผิวหนังในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น โรคเรื้อน โรคฝี
โรคฝีดาษ โรคสิว โรคกลาก โรคเริม โรคพุพอง โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคละลอก โรคหูด
โรคคุดทะราด และโรคคุดทะราดบวม เป็นต้น
โรคเรื้อน หมายถึง โรคผิวหนังชนิดหนึ่งซึ่งติดต่อได้ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่น มีหลายชนิด
บางชนิดทำให้นิ้วมือนิ้วเท้ากุด เรียกว่า เรื้อนกุฏฐิง บางชนิดมีลักษณะเป็นผื่นคันทำให้ผิวหนัง
หนาหยาบและอาจแตกมีน้ำเหลืองไหลหรือตกสะเก็ดในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า
หัวเข่าหรือที่มือเอื้อมไปเกาถึง เรียกว่า เรื้อนกวาง บางชนิดแผลมีสีขาว เรียกว่า เรื้อนน้ำเต้า
โรคฝี หมายถึง โรคชนิดหนึ่งเป็นต่อมบวมขึ้น กลัดหนองข้างใน เรียกชื่อต่าง ๆ กัน
หลายชนิด เช่น ฝีคัณฑมาลา ฝีดาษ ฝีประคำร้อย
โรคฝีดาษ หมายถึง โรคฝีชนิดหนึ่ง มักเกิดขึ้นตามลำตัว เป็นเม็ดเล็กๆ ดาษทั่วไป
บางครั้งเรียก ไข้ทรพิษ คนโบราณเรียกว่า ไข้หัว
โรคสิว หมายถึง โรคที่มีลักษณะเป็นตุ่มเม็ดเล็ก ๆ ที่มีหนองเป็นไตสีขาวๆ อยู่ข้างใน
ขึ้นบริเวณใบหน้า และส่วนต่างๆของลำตัว
โรคกลาก หมายถึง โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อรา ขึ้นเป็นวง มีอาการคัน
โรคเริม หมายถึง โรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ พองใสติดกันเป็นกลุ่ม มี
อาการคัน ปวดแสบปวดร้อน
โรคพุพอง หมายถึง โรคผิวหนังชนิดหนึ่งเป็นเม็ดผุดขึ้นพองใสตามลำตัว แล้วแตกออกมี
น้ำเหลืองหรือน้ำเลือดน้ำหนอง
โรคหิด หมายถึง โรคติดต่อชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นเม็ดสีขาว ใสเป็นเงาในเนื้อ ขึ้น
ตามผิวหนังมีอาการปวดและคัน เรียกว่าคิดด้าน เมื่อเม็ดแตกมีน้ำหนองไหลเยิ้ม เรียกว่า คิด
เปื่อย
โรคละลอก หมายถึง โรคผิวหนังชนิดหนึ่งเป็นเม็ดมีหนอง
โรคหูด หมายถึง โรคผิวหนังชนิดหนึ่งขึ้นเป็นไตแข็ง
โรคคุดทะราด หมายถึง การเป็นแผลเรื้อรัง บางรายแผลบานเหวอะหวะออก มีกลิ่น
เหม็น เป็นแม่แผลให้เกิดแผลอื่นจำพวกเดียวกันพุพองออกไปอีก
326 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก