พญามือเหล็กน้ำฝาดกระถินพิมาน GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 341
หน้าที่ 341 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอสมุนไพรและยาในพระไตรปิฎกที่ไม่ได้จัดว่าเป็นอาหาร เช่น ใบไม้, ผลไม้, ยางไม้, และเกลือต่าง ๆ รวมถึงการใช้ยามหาวิณัฏในการรักษาโดยเฉพาะในกรณีถูกงูกัดและการดื่มน้ำเจือคูถ. สมุนไพรเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในวงการแพทย์แผนไทยและการรักษาเชิงป้องกัน.

หัวข้อประเด็น

-สมุนไพรในพระไตรปิฎก
-การใช้ยาในการรักษา
-ประเภทของเกลือในการแพทย์
-ยามหาวิณัฏ
-การใช้สมุนไพรในโภชนาการ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พญามือเหล็กน้ำฝาดกระถินพิมาน หรือน้ำฝาดชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร ใบไม้ ได้แก่ ใบสะเดา ใบผูกมัน ใบกระดอมหรือขี้กา ใบกะเพราหรือแมงลัก ใบฝ้าย หรือใบไม้ชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร และ ต้นไม้ที่นำมาทำเป็นยา ได้แก่ ไม้จันทน์ กฤษณา กะลัมพัก ใบเฉียง แห้วหมู เป็นต้น ผลไม้ ได้แก่ ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลโกฐ ผลกล้วย อินทผลัม หรือผลไม้ชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร ยางไม้ ได้แก่ ยางจากต้นทิ้งคุ ยางที่เคี่ยวจากก้านใบและเปลือกของต้นทิ้งคุ ยางจาก ยอดตันตกะ ยางที่เคี่ยวจากใบหรือก้านตันตกะ ยางจากกำยาน หรือยางชนิดอื่นที่เป็นยาสมุน ไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร 4) เกลือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตเกลือที่เป็นเภสัชไว้ดังนี้ คือ เกลือสมุทร เกลือดำ เกลือ สินเธาว์ เกลือดินโป่ง หรือเกลือชนิดอื่นที่เป็นยาและไม่จัดว่าเป็นอาหาร เกลือสมุทร หมายถึง เกลือที่ได้จากน้ำทะเล เกลือดำ หมายถึง เกลือที่เป็นเศษเกลือ หรือเกลือก้นกอง เม็ดเกลือจะเล็กและมี ตะกอนปนอยู่มาก เกลือชนิดนี้ปกติจะใช้เติมบ่อกุ้ง เลี้ยงปลา และปรับสภาพดินในสวนผลไม้ เกลือสินเธาว์ หมายถึง เกลือที่ได้จากดินเค็ม เกลือดินโป่ง หมายถึง เกลือที่ทำจากดินโป่ง ดินโป่งคือแอ่งดินเค็มตามธรรมชาติ เป็น ดินที่มีเกลือแร่ต่าง ๆ ปนอยู่ เช่น เกลือโซเดียมคลอไรด์ เกลือแคลเซียม โปตัสเซียม เป็นต้น 5) ยามหาวิณัฏ ครั้งหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอนุญาตให้ภิกษุใช้ยามหาวิฏ 4 อย่างรักษา คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน ต่อมาภิกษุรูปหนึ่งดื่มยาพิษเข้าไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสอนุญาตให้ภิกษุดื่มน้ำเจือคูถเพื่อให้อาเจียนเอาพิษออกมา 6) กลุ่มเบ็ดเตล็ด กลุ่มยาเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ที่นำมาใช้รักษาโรคเท่าที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ได้แก่ ยาดองโลณโสวีรกะ ยาผง มูลโค งา ข้าวสาร ข้าวสุก น้ำข้าวใส ถั่วเขียว ธัญชาติทุกชนิด น้ำด่าง ทับทิม ปลา เนื้อ น้ำต้มเนื้อ และการเกด เป็นต้น 330 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More