ความโลภและกรรมในพุทธศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 111
หน้าที่ 111 / 373

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้มีการอธิบายเกี่ยวกับความโลภในมุมมองของพุทธศาสนา โดยมีการแสดงให้เห็นว่าความโลภเป็นความหิวจัดทางจิตที่ไม่รู้จักพอ แม้จะมีความสมบูรณ์ทางวัตถุ แต่ใจไม่อิ่มรู้จักอิ่มพอ ขณะที่กิเลสตระกูลโทสะทำให้จิตเกิดความร้อนรน รุนแรงต่อทั้งตนเองและผู้อื่น และโมหะทำให้มนุษย์หลงงมงาย รู้ผิดรู้ถูกไม่ชัดเจน ทั้งสามกิเลสนี้บังคับให้ทำกรรมชั่วต่างๆ และส่งผลต่อวิบากในชีวิต กรรมคือการกระทำที่มาจากเจตนาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการแสดงออกถึงการกระทำที่มีความหมายและส่งผลต่อชีวิตผู้คนอย่างมีนัยสำคัญ เนื้อหาให้ความรู้แก่ผู้สนใจในหลักธรรมของพุทธศาสนาเพื่อเข้าใจกรรมและการกระทำที่มีมูลความหมายในชีวิตอย่างลึกซึ้ง

หัวข้อประเด็น

-ความโลภ
-กิเลส
-เจตนา
-กรรม
-พุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความโลภนี้โดยปกติมีลักษณะ คือ ละโมบโลภมาก อยากได้สิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของ ตนโดยทางทุจริต มีความหิวจัดทางจิตเป็นลักษณะ ผู้ที่ถูกโลภะครอบงำ แม้จะเป็นคนมั่งมีอยู่ดี กินดี สมบูรณ์ด้วยปัจจัย 4 และเครื่องอำนวยความสุขทางกายทุกประการ แต่ถ้าจิตยังมีโลภะอยู่ ก็ยังรู้สึกว่าหิว ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักเต็ม ท่านเปรียบเหมือนไฟไม่รู้จักพอด้วยเชื้อ มหาสมุทรไม่รู้จักเต็มด้วยน้ำฉันใด คนโลภ ไม่รู้จักอิ่ม-พอ-เต็ม ด้วยปัจจัย ฉันนั้น 2.) กิเลสตระกูลโทสะ ได้แก่ กิเลสจำพวกทำให้จิตร้อน อยากล้างผลาญ อยาก ทำความพินาศ ให้แก่คนอื่น สิ่งอื่น กิเลสพวกนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตเดือดพล่าน โทสะนี้เมื่อเกิดขึ้นย่อมเป็นโทษทั้งแก่ตนเอง และแก่ผู้อื่น เวลามีโทสะไหม้ใจ พวกพ้อง เพื่อนฝูง จนกระทั่งพ่อแม่ลูก ก็มองเห็นเป็นศัตรูไปหมด และผลที่สุดแม้แต่ตัวเองก็ไม่เป็นที่พอใจ ของตัวเอง และเวลาที่จิตถูกครอบงำด้วยโทสะ จะสั่งงานก็ปราศจากเหตุผล และลุกลามไปถึง คนรอบข้างต่อเปรียบเสมือนลูกระเบิด พอระเบิดมันก็ทำลายตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงไป ทำลายวัตถุอื่นๆ ต่อไป 3.) กิเลสตระกูลโมหะ ได้แก่ กิเลสจำพวกทำให้จิตงุนงง หลงใหล มัวเมา มืดตื้อ ลักษณะ ของโมหะ คือรู้อะไรไม่แจ่มแจ้ง แล้วหลงงมงายอยู่ในสิ่งนั้น ๆ มีเรื่องอะไรพอจะพิจารณาให้รู้จริง รู้เหตุ รู้ผล รู้ดี รู้ชั่วได้ แต่ไม่พิจารณาให้รู้จริง หรือพิจารณาแต่ไม่สามารถรู้ตามความเป็นจริง นี้เรียกว่าโมหะ คนถูกโมหะครอบงำ เรียกกันว่าคนเจ้าโมหะ หรือคนหลง เป็นคนมืด มองไม่รู้ อรรถ ไม่เห็นธรรม ย่อมทำผิดต่าง ๆ ได้ เช่น มัวเมา ลบหลู่คุณท่าน ตีตนเสมอท่าน หูเบา เป็นต้น ตั้งแต่ผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้นไปจนถึงขั้นอนันตริยกรรม กิเลสทั้งสามตระกูลที่กล่าวมานี้จะบังคับ ให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทำกรรมชั่วต่างๆและเป็นเหตุให้ได้รับวิบากคือผลของกรรมชั่วนั้นอย่าง แสนสาหัสดังจะกล่าวต่อไป 5.5.2 ความหมายและประเภทของกรรม กรรม หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดังพุทธพจน์ที่ว่า “เจตนาห์ ภิกขเว กมุม์ วทามิ เจตยิตฺวา กมุม กโรติ กาเยน วาจาย มนสา” หมายความว่า ภิกษุทั้งหลาย เจตนา นั่นเอง เราเรียกว่า กรรม บุคคลจงใจแล้ว จึงทำด้วยกาย วาจา ใจ กรรมหรือการกระทำ จึงต้องมี พื้นฐานจากเรื่องของเจตนา เจตนา หมายถึง สภาพความนึกคิดที่มีความจงใจเป็นสิ่งประกอบสำคัญ คือ ต้องคิด ไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วจึงกระทำ เจตนาจึงจัดเป็นแก่นสำคัญที่สุดของการกระทำ เป็นตัวที่ทำให้ การกระทำมีความหมาย 100 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More