ความหมายและบทบาทของธรรมในพระพุทธศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 176
หน้าที่ 176 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความหมายของธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเข้าใจว่า ธรรมคือความจริงตามธรรมชาติที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้และเผยแพร่ให้แก่สังคม ผ่านการจัดตั้ง “สังฆะ” หรือชุมชนที่มีวินัยเป็นกรอบการประพฤติ เพื่อให้สมาชิกสามารถศึกษาธรรมและเผยแผ่ไปยังผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นว่ามีวัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งสังฆะเพื่อให้เมตตากรุณาและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ผ่านระเบียบวินัยที่เหมาะสม.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของธรรม
-บทบาทของสังฆะในพระพุทธศาสนา
-การจัดตั้งวินัยในหมู่สงฆ์
-หลักการเผยแผ่ธรรม
-ผลกระทบของธรรมต่อมนุษย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ของพระพุทธศาสนาทั้งหมด ธรรม หมายถึง ความจริงที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ดังพระดำรัสว่า พระตถาคตทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยัง ดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงธาตุอันนั้น ครั้นแล้วย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดัง ดังนี้' ธรรมเป็นความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาของมัน เราอาจจะแปลได้หลายอย่าง เช่น แปลว่า ธรรมชาติ กฎธรรมชาติ ความเป็นจริง เป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมด้วย การเข้าถึงพระธรรมกายภายใน จึงได้รู้แจ้งความจริงต่าง ๆ ในธรรมชาติด้วยพระธรรมกายนั้น หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้วก็เสด็จจาริกสั่งสอนชาวโลก แต่การที่ จะสั่งสอนธรรมให้บังเกิดประโยชน์แก่คนหมู่มากและเกิดระบบการสอนธรรมสืบต่อไปอย่าง ต่อเนื่องยาวนานแม้พระองค์จะปรินิพพานไปแล้วนั้น พระองค์ไม่อาจจะที่จะทำเพียงลำพังได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดตั้ง “องค์กร” ขึ้นมา เพื่อรองรับงานเผยแผ่พระธรรมคำสอนของ พระองค์ องค์กรในที่นี้คือ “สังฆะ” หรือ “สงฆ์” สังฆะไม่ใช่บุคคล ในภาษาไทยเรามองคำว่าสงฆ์ นี้เป็นตัวพระภิกษุไป คำว่า สงฆ์ หมายถึง หมู่ หรือ ชุมชน หมายความว่าต้องมีคนจำนวนหนึ่ง มารวมตัวกัน ไม่ใช่คนเดียว แต่สงฆ์เป็นชุมชนที่จัดตั้งขึ้นมา เมื่อตั้ง สังฆะ หรือ ชุมชนขึ้นมาแล้ว เมื่อมีคนมารวมกันแล้ว ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องมีกฎระเบียบ จะต้องมีการจัดวางระบบแบบแผน เพื่อให้สมาชิกทุกคนปฏิบัติไปใน ทิศทางเดียวกัน จะเป็นเหตุให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข วินัย จึงถูกบัญญัติขึ้นเพื่อเป็นกรอบความประพฤติทางกายและวาจาของคนในสังฆะที่ จัดตั้งขึ้น เพื่อเอื้อให้สมาชิกทุกคนในสังฆะอยู่รวมกันอย่างเป็นสุข จะได้ศึกษาและเผยแผ่ “ธรรม” อันเป็นเป้าหมายของการเข้ามาอยู่ในสังฆะได้อย่างเต็มที่ และเมื่อตรัสรู้ธรรมแล้วก็จะได้ช่วย กันเผยแผ่ธรรมที่ตนได้ตรัสรู้สืบต่อไป ความจริงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสวัตถุประสงค์ของ การบัญญัติพระวินัยไว้ 10 ประการ แต่โดยภาพรวมแล้วทั้ง 10 ประการนั้นก็มีจุดมุ่งหมายหลัก ดังที่ได้กล่าวมานี้ สรุปว่าเดิมนั้นมีธรรม แต่เพื่อให้คนหมู่ใหญ่ได้ประโยชน์จากธรรม จึงมีวินัยขึ้นมา จัดสรรความเป็นอยู่ของหมู่มนุษย์ ให้เกิดโอกาสอันดีที่สุด ที่จะใช้ธรรมให้เป็นประโยชน์หรือได้ ประโยชน์จากธรรมนั้น ถ้าจัดตั้งวางระบบแบบแผนโดยไม่มีธรรมคือความจริงที่แท้เป็นฐาน 'ปัจจยสูตร, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 ข้อ 61 หน้า 96. หมายเหตุ ดูรายละเอียด หน้า 175. บทที่ 7 นิ ติ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 165
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More