กฎหมายพาณิชย์และการใช้กฎหมายในประเทศไทย GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 36
หน้าที่ 36 / 373

สรุปเนื้อหา

กฎหมายพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เช่น หุ้นส่วน บริษัท และประกันภัย โดยถูกบรรจุในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงกฎหมายระหว่างประเทศที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนที่มีสัญชาติต่างกัน รวมถึงกฎหมายสังคมที่มีความเกี่ยวข้องระหว่างเอกชนและมหาชน เช่น กฎหมายแรงงานและกฎหมายประกันสังคม เพื่อความสงบสุขในสังคม กฎหมายเศรษฐกิจมีบทบาทในการควบคุมและส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การใช้กฎหมายหมายถึงการนำข้อเท็จจริงในคดีมาปรับกับตัวกฎหมาย โดยต้องตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงนั้นเกิดขึ้นจริง และค้นหากฎหมายที่เกี่ยวข้องในการวินิจฉัย จำเป็นต้องใช้ดุลพินิจในการเลือกผลทางกฎหมายที่เหมาะสมกับข้อเท็จจริง

หัวข้อประเด็น

-กฎหมายพาณิชย์
-กฎหมายระหว่างประเทศ
-การใช้กฎหมาย
-กฎหมายสังคม
-กฎหมายเศรษฐกิจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(2) กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ เช่น หุ้นส่วน บริษัท ประกันภัย ตั๋วเงิน กฎหมายทะเล เป็นต้น ในประเทศไทยทั้งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รวมอยู่ ในประมวลกฎหมายฉบับเดียวกันในชื่อว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (3) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ ระหว่างเอกชนแต่เอกชนนั้นมีสัญชาติต่างกัน กฎหมายสังคม เป็นกฎหมายที่มีลักษณะความเกี่ยวกันระหว่างกฎหมายเอกชนและ มหาชน เช่น กฎหมายแรงงาน กฎหมายประกันสังคม เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อความสงบ สุขและความเป็นธรรมในสังคม กฎหมายเศรษฐกิจ หมายถึง บทบัญญัติที่บัญญัติถึงกิจการทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะ ควบคุมชี้แนวทาง ส่งเสริม หรือจำกัดการกระทำหรือกิจการทางเศรษฐกิจ 4.) การใช้กฎหมาย การใช้กฎหมาย คือ การนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในคดีมาปรับกับตัวกฎหมายและวินิจฉัย ชี้ขาดว่า ข้อเท็จจริงนั้นมีผลทางกฎหมายอย่างไร ข้อเท็จจริงในคดีสำหรับการพิจารณาของศาลคือ บรรดาเรื่องราวอันเป็นประเด็นข้อพิพาทและรายละเอียดในสำนวนคดี ซึ่งศาลได้สรุปจาก พยานหลักฐานต่างๆ ที่คู่ความได้กล่าวอ้างในกระบวนการพิจารณาและศาลรับฟังเป็นที่ยุติว่า เป็นเช่นนั้น เมื่อได้ข้อเท็จจริงแล้วจึงนำข้อเท็จจริงมาปรับกับตัวบทกฎหมายเรียกว่า เป็นการใช้ กฎหมายหรือเรียกว่า การปรับบท นั่นเอง โดยสามารถสรุปขั้นตอนการใช้กฎหมายได้ดังนี้ (1) ตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงในคดีว่าเกิดขึ้นจริงดังข้อกล่าวอ้างหรือไม่ ซึ่งจะต้อง พิสูจน์ด้วยพยานหลักฐานต่าง ๆ (2) เมื่อได้ข้อเท็จจริงแล้วจะต้องค้นหากฎหมายที่ตรงกับข้อเท็จจริงนั้นมาปรับบท (3) วินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงในคดีนั้นปรับได้กับข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบในบทบัญญัติ ของกฎหมายหรือไม่ (4) ถ้าปรับได้ให้ชี้ว่ามีผลต่อกฎหมายอย่างไร หากกฎหมายกำหนดผลทางกฎหมาย ไว้หลายอย่างให้เลือก ผู้ใช้กฎหมายจะต้องใช้ดุลพินิจตัดสินใจเลือกผลทางกฎหมายอย่าง ใดอย่างหนึ่งให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น บทที่ 2 ส ร ร พ ศ า ส ต ร์ ในทางโลก DOU 25
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More