ความลึกลับของหลุมดำและกาแล็กซี GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 71
หน้าที่ 71 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการสังเกตและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกาแล็กซีและหลุมดำ หลุมดำถูกอธิบายว่าเป็นเขตแดนที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมากไม่สามารถให้แสงลอดออกมาได้ แม้กระนั้นแสงบางส่วนสามารถเล็ดลอดออกมาได้ตามหลักกลศาสตร์ควอนตัม นักดาราศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าคลื่นวิทยุที่ได้รับมักมาจากบริเวณขอบของกาแล็กซีทางช้างเผือก จากศึกษาโดยจอห์น มิเชลที่ได้อธิบายเกี่ยวกับดาวมืด ซึ่งกลายมาเป็นแนวคิดหลุมดำในปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1783 เขาได้ตั้งข้อสังเกตว่าดาวฤกษ์ที่มีมวลสูงจะมีสนามแรงโน้มถ่วงสูง ส่งผลให้เราไม่สามารถมองเห็นพวกมันได้ แต่เราสามารถตรวจวัดแรงโน้มถ่วงที่มีอยู่ได้

หัวข้อประเด็น

-หลุมดำ
-กาแล็กซี
-คลื่นวิทยุ
-สตีเฟน ฮอว์กิ้ง
-วิจัยทางดาราศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ค่อนมาทางกลางของกาแล็กซีลักษณะแพนเค้กดังกล่าว ฉะนั้นเวลาเรามองออกไปก็จะเห็น ดวงดาว “บริเวณขอบของกาแล็กซี” เป็นแถบทางช้างเผือกที่มีจำนวนดวงดาวมากกว่า “ด้าน บนและล่างของกาแล็กซี” ดังนั้น แหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุก็ควรจะมาจากบริเวณขอบของ กาแล็กซีมากกว่าจากด้านบนหรือล่างของมันด้วย แต่เหตุใดแหล่งกำเนิดวิทยุที่ค้นพบจึงดูกระจัดกระจายทั่วท้องฟ้าไปหมดและคลื่นวิทยุที่ ได้รับล้วนแล้วแต่มีพลังสูงทั้งสิ้น มันสูงกว่าที่ได้รับจากกาแล็กซีแอนโดรเมดานับเป็นพันเท่า ซึ่ง กาแล็กซีนี้อยู่ใกล้กับกาแล็กซีของเรามากที่สุด ด้วยเหตุนี้นักดาราศาสตร์ ส่วนใหญ่จึงสรุปว่า คลื่นวิทยุเหล่านี้มาจากกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราแน่นอน ไม่ได้มาจากกาแล็กซี่อื่น แต่ก็ยัง ไม่รู้ว่าทำไมมันกระจัดกระจายกันมาทั่วท้องฟ้า ทั้งด้านบน ด้านล่าง และบริเวณขอบแนวกลาง ของกาแล็กซีที่เป็นแถบทางช้างเผือก 3.4 หลุมดำสิ่งลึกลับในห้วงอวกาศ 3.4.1 ความหมายและประวัติของหลุมดำ สตีเฟน ฮอว์กิ้ง ให้ความหมายของหลุมดำ (Black hole) ไว้ว่า ตามความเชื่อเดิม หลุมดำคือเขตแดนที่อวกาศมีความโค้งงอมาก และแรงโน้มถ่วงมีกำลังสูงมากจนแสงไม่อาจ เล็ดลอดออกมาได้ แต่ตามหลักความไม่แน่นอนของกลศาสตร์ควอนตัมที่เขาได้ศึกษาพบว่า อนุญาตให้แสงได้เล็ดลอดออกมาได้บ้าง หลุมดำนั้นเป็นเสมือนกับเครื่องดูดฝุ่นจักรวาล มัน จะกลืนทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาใกล้มัน ในปี ค.ศ.1783 (พ.ศ.2326) จอห์น มิเชล (John Michell) อาจารย์มหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ระบุว่า ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะมีสนามแรงโน้มถ่วงสูงจนแสงไม่อาจเดินทางออกมา ได้ ดาวที่มีลักษณะเช่นนี้อาจจะมีอยู่เป็นจำนวนมาก ถึงแม้เราจะไม่สามารถมองเห็นดาวเหล่า นี้ได้ เพราะแสงของมันไม่สามารถเดินทางมาถึงโลก แต่เราสามารถตรวจวัดแรงโน้มถ่วงของมัน ได้ ยุคนั้นจอห์น มิเชล เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า ดาวมืด (Dark star) และนี่คือสิ่งลึกลับในห้วงอวกาศ ที่เราเรียกกันว่าหลุมดำในปัจจุบัน 'กาแล็กซีแอนโดรเมดา อยู่ห่างจาก กาแล็กซีทางช้างเผือก 2.3 ล้านปีแสง * รอฮิม ปรามาส (2547). “เอกภพ สรรพสิ่งและมนุษยชาติ” หน้า 380-381. Stephen Hawking(1988).A Brief History of Time, แปลโดยรอฮีม ปรามาส(2546), “ประวัติย่อของกาล- เวลา.” น.247. 60 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More