การบริหารจัดการห้องเพื่อบ่มเพาะนิสัยที่ดี GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 119
หน้าที่ 119 / 373

สรุปเนื้อหา

การบริหารจัดการห้องทั้ง 5 มีหลักการเพื่อส่งเสริมนิสัยที่ดี โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมในห้องที่ดี รูปแบบห้องต้องเอื้อต่อการบ่มเพาะนิสัย และอุปกรณ์ในห้องต้องเกื้อหนุนต่อการพัฒนานิสัยดี และบุคคลในพื้นที่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น บิดามารดา ครู สังคมรอบข้าง ซึ่งส่งผลต่อการสร้างนิสัยให้เกิดขึ้น ข้อควรหลีกเลี่ยงคือการมีอุปกรณ์ที่อาจทำให้เกิดนิสัยเสียในห้อง เช่น คอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ที่อาจทำให้นอนไม่หลับ หากสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมและบุคคลรอบตัวให้ดี จะช่วยเสริมสร้างนิสัยที่ดีให้กับสมาชิกในครอบครัวได้

หัวข้อประเด็น

-การบริหารจัดการห้อง
-การบ่มเพาะนิสัย
-สิ่งแวดล้อมในห้อง
-อุปกรณ์ในห้อง
-บุคคลในห้อง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การบริหารจัดการห้องทั้ง 5 ให้เป็นไปเพื่อการบ่มเพาะนิสัยที่ดีมีหลักการว่า “ต้องจัด ทำสิ่งแวดล้อมในห้องทั้ง 5 ให้ดีและต้องมีวิธีการใช้ห้องที่ถูกต้อง” สิ่งแวดล้อมในที่นี้ คือ รูป แบบห้อง อุปกรณ์ และ บุคคล ส่วนวิธีการใช้ห้อง คือ วิธีการใช้ที่ทำให้เกิดนิสัยที่ดีขึ้นนั่นเอง (1) รูปแบบห้องเราต้องคิดว่า รูปแบบของห้องแต่ละห้องที่เป็นไปเพื่อการบ่มเพาะนิสัย ที่ดีให้เกิดขึ้นกับเราและคนในครอบครัวควรจะเป็นอย่างไร เช่น ห้องนอน ถ้าเราต้องการให้ลูก ของเรามีนิสัยที่ดี คือ สวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิก่อนนอนทุกคืน เราก็ต้องออกแบบห้องให้ เหมาะกับการสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิ กล่าวคือ ห้องจะต้องป้องกันเสียงรบกวนจาก ภายนอกได้ดี อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อน และควรมีพื้นที่สำหรับวางชุดโต๊ะหมู่เล็กๆไว้ในห้อง เป็นต้น ส่วนรูปแบบของห้องอื่น ๆ ก็เช่นกันคือ ต้องเกื้อหนุนต่อการบ่มเพาะนิสัยที่ดี (2) อุปกรณ์ในห้องอุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้ในห้องแต่ละห้องก็ต้องเกื้อหนุนต่อการบ่มเพาะ นิสัยที่ดี อุปกรณ์ใดที่จะทำให้นิสัยไม่ดีเกิดขึ้นต้องนำออกไป โดยห้องนอนควรมีอุปกรณ์ดังนี้ เช่น ภาพองค์พระ หรือ ชุดโต๊ะหมู่เล็กๆ สำหรับกราบก่อนนอน, แฟ้มภาพการสั่งสมบุญสำหรับเอา ไว้ดูเพื่อนึกถึงบุญจะได้หลับในอู่ทะเลบุญ, เตียงนอนก็ไม่ควรเป็นเตียงที่นุ่มมากไปเพราะทำให้ นอนสบายจนเกินไปเป็นเหตุให้ตื่นสาย เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ที่ไม่ควรมีในห้องนอน เช่น คอมพิวเตอร์โทรทัศน์เพราะจะทำให้เราดูหนังดูละครเพลินอันเป็นเหตุให้นอนดึกและตื่นสายจน เป็นนิสัย และการดูหนังบางเรื่องที่มีเนื้อหารุนแรงก็จะบ่มเพาะนิสัยไม่ดีให้เราได้เช่นกัน ภาพ ที่ไม่เหมาะสมก็ไม่ควรติดไว้ในห้องนอน เช่น ภาพดารา ภาพโป๊ เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ในห้อง อื่น ๆ ก็มีหลักการเช่นเดียวกัน คือ ต้องเกื้อหนุนต่อการบ่มเพาะนิสัยที่ดี (3) บุคคลในห้อง บุคคลนั้นเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญมาก เป็นต้นแบบหลักแห่งนิสัยดี และไม่ดีของมนุษย์ บุคคลในที่นี้คือ ทิศ 6 หมายถึง ผู้ที่อยู่แวดล้อมของมนุษย์ทุกคน ทิศเบื้อง หน้าคือบิดามารดา ทิศเบื้องหลังคือบุตรภรรยา ทิศเบื้องขวาคือครูอาจารย์ ทิศเบื้องซ้ายคือ มิตรสหาย ทิศเบื้องบนคือพระภิกษุ ส่วนทิศเบื้องล่างคือลูกน้องพนักงาน บุคคลในทิศทั้ง 6 นี้มนุษย์ทุกคนจะต้องเจอต้องพูดต้องคุยกันเกือบทุกวันตามห้องต่างๆ ทั้ง 5 ห้องดังกล่าวมาแล้ว ถ้าคนทั้ง 6 ทิศที่แวดล้อมเราอยู่นี้ส่วนใหญ่เป็นคนดี เราก็จะเห็น ต้นแบบที่ดีอยู่เป็นประจำ ทำให้เราคิดถึงสิ่งที่ดีพูดถึงสิ่งที่ดีที่ได้เห็นนั้นเป็นประจำ และในที่สุด เราก็จะทำสิ่งที่ดีนั้นเป็นประจำด้วย นั่นหมายถึงเราติดนิสัยที่ดีจากทิศทั้ง 6 นั้นมาแล้ว ในทาง ตรงข้ามหากบุคคลที่อยู่แวดล้อมเราส่วนใหญ่เป็นคนไม่ดีเราก็จะเห็นต้นแบบที่ไม่ดีอยู่เป็นประจำ เมื่อเราเห็นเป็นประจำก็เป็นเหตุให้เราคิดถึงสิ่งที่ไม่ดี พูดถึงสิ่งที่ไม่ดีที่ได้เห็นนั้นเป็นประจำ 108 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More