ข้อความต้นฉบับในหน้า
(4) ผู้รับสารหรือผู้ฟัง (Receiver or Listener) คือ บุคคลหรือกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายของ
การสื่อสาร ผู้รับหรือผู้ฟังจึงเป็นเป้าหมายที่ผู้ส่งสารหรือผู้พูดตั้งใจจะส่งสารเพื่อให้ผู้รับสารหรือ
ผู้ฟังเข้าใจในสารนั้นตามที่ผู้พูดประสงค์
3.) หลักสำคัญของการติดต่อสื่อสาร
หลักสำคัญของการติดต่อสื่อสารมีอยู่อย่างน้อย 7 ประการ คือ ความน่าเชื่อถือ, ความ
เหมาะสมกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม, เนื้อหาสาระ, ความชัดเจน, ความต่อเนื่องและความ
สม่ำเสมอ, ช่องทางในการสื่อสาร และขีดความสามารถของผู้รับ
(1) ความน่าเชื่อถือ
การติดต่อสื่อสารจะต้องเริ่มด้วยบรรยากาศแห่งความน่าเชื่อถือเมื่อผู้รับสารเชื่อมั่นแล้ว
การสื่อสารก็จะสำเร็จผลได้โดยง่าย เพราะผู้รับสารจะมีความตั้งใจรับสารนั้นๆ
(2) ความเหมาะสมกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
การติดต่อสื่อสารนั้นจะต้องเหมาะสมกลมกลืนกับความเป็นจริงแห่งสภาพแวดล้อม
นอกจากนี้การติดต่อสื่อสารยังควรจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้รับมีส่วนร่วมและซักถามด้วย เพื่อ
ความเข้าใจดียิ่งขึ้นในสารนั้นๆ
(3) เนื้อหาสาระ
เนื้อหาสาระของข่าวสารจะต้องมีความหมายต่อผู้รับเสมอ จะต้องสอดคล้องไม่ขัดแย้ง
ต่อระบบค่านิยมของเขา และที่สำคัญมนุษย์จะเลือกรับข่าวสารที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์แก่เขา
หากเห็นว่าไร้ประโยชน์เขาย่อมไม่สนใจในข่าวสารนั้น
(4) ความชัดเจน
ในการติดต่อสื่อสาร ข่าวสารจะต้องมีความชัดเจน โดยอาจใช้ภาษาหรือถ้อยคำที่ง่ายๆ
เพื่อความเข้าใจชัดเจน ตรงกันทั้งผู้ส่งผู้รับ ข่าวสารที่มีความสลับซับซ้อนเข้าใจยาก อาจจะนำ
มาทำเป็นหัวข้อคำขวัญ ที่สั้นๆ ง่ายๆ เพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
(5) ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
การติดต่อสื่อสารเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น การติดต่อสื่อสารที่มี
ประสิทธิภาพ จะต้องมีการย้ำเตือนเสมอ เพื่อให้ซึมซาบในจิตใจผู้รับ
บทที่ 2 ส ร ร พ ศ า ส ต ร์ ใ น ท า ง โ ล ก DOU 31