การศึกษาเกี่ยวกับความฉลาดและกรรมในพระพุทธศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 314
หน้าที่ 314 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการศึกษาเกี่ยวกับความฉลาดในมุมมองของพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ โดยเน้นว่าความฉลาดไม่ได้เกิดจากสมองเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องกับบาปกรรมในอดีตที่ส่งผลต่อการเกิดเป็นคนพิการหรือไม่พิการ วิทยาศาสตร์พยายามอธิบายเหตุผล แต่ไม่สามารถเข้าถึงต้นเหตุที่แท้จริงได้ ขณะเดียวกัน พระพุทธศาสนาอธิบายเรื่องราวนี้ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าทำไมเด็กบางคนจึงพิการ อาทิ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของพืชต่อพฤติกรรมและคำพูดของมนุษย์ก็ได้รับการยืนยันจากการวิจัย เช่น เมื่อนึกดี ๆ กับต้นไม้ก็จะเติบโตได้ดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ความฉลาดและกรรม
-วิทยาศาสตร์ในพระพุทธศาสนา
-การพิการและเหตุผลในมุมมองต่างๆ
-การตอบสนองของพืชต่อมนุษย์
-อิทธิพลของพฤติกรรมต่อการเติบโตของพืช

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทั่วไปก็มีโอกาสฉลาดเหมือนอย่างอัจฉริยะผู้นี้หรือจะกล่าวว่าเป็นการโคลนนิ่งไอน์สไตน์ออกเป็น ร้อยเป็นพันคน ซึ่งในความเป็นจริงๆ ไม่อาจจะทำได้เพราะปัจจัยหลักของความฉลาดไม่ได้อยู่ที่ สมอง หากมีเด็กเกิดมาพิการ นักชีววิทยาก็จะค้นหาสาเหตุในปัจจุบันว่าทำไมเขาจึงพิการ เช่นการพิการเกิดจากการผิดพลาดบางประการของสารพันธุกรรม แต่สิ่งหนึ่งที่วิทยาศาสตร์ อธิบายไม่ได้ คือ ทำไมเด็กคนนี้จึงสมควรเป็นคนพิการ ทั้ง ๆ ที่มีเด็กอีกมากมายเกิดมามี ร่างกายสมบูรณ์ อะไรคือสิ่งที่กำหนดให้เด็กคนนี้สมควรเป็นคนพิการ วิทยาศาสตร์อธิบายตรงนี้ไม่ได้เพราะไม่อาจไปถึงต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหาอย่างมาก ก็ตอบได้เพียงปลายเหตุที่ศึกษาวิจัยได้ในปัจจุบันชาติเท่านั้น อุปมาเหมือนกับว่าเด็กคนหนึ่ง เห็นนาย ก.อยู่ในคุก จึงถามผู้ใหญ่ว่า ทำไมนาย ก. จึงไปอยู่ในคุก ผู้ใหญ่คนหนึ่งตอบแต่เพียงว่า นาย ก.ไปอยู่ในคุกเพราะถูกตำรวจจับไปขังไว้ โดยไม่ได้อธิบายว่า ทำไมนาย ก. จึงสมควรถูกจับ ไปขังไว้อย่างนั้น เขาทำความผิดอะไรมาจึงสมควรถูกจับขัง คำอธิบายของนักวิทยาศาสตร์ก็ ทำนองเดียวกัน คือ ไม่ได้อธิบายว่าทำไมเด็กบางคนจึงสมควรเป็นคนพิการ เนื่องจากไม่อาจ จะอธิบายได้ แต่พระพุทธศาสนาอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า เด็กคนดังกล่าวเป็นคนพิการเพราะ บาปกรรมที่เขาทำไว้ในอดีตชาติมาส่งผล ส่วนเด็กคนอื่นไม่ได้พิการเพราะเขาไม่ได้ทำบาป กรรมไว้ 10.6.5 ธรรมนิยามกับวิทยาศาสตร์ ธรรมนิยาม (the law of cause and effect) เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติที่แสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์กันของนิยามทั้ง 4 ประการข้างต้น คือ พืชนิยาม อุตุนิยาม จิตตนิยาม และกรรม นิยาม เช่น หมื่นโลกธาตุหวั่นไหวเมื่อพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา การเสด็จมาปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระโพธิสัตว์เป็นพืชนิยาม แต่สามารถส่งผลให้อุตุนิยาม คือ หมื่นโลกธาตุหวั่นไหวได้เพราะอำนาจบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ ในทางวิทยาศาสตร์ก็มีการค้นพบตรงกับคำสอนที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก คือ มีทฤษฎี เกี่ยวกับ “การตอบสนองของพืชต่อพฤติกรรมด้านความคิด คำพูดและการกระทำของมนุษย์” แพร่หลายมาก โดยหลักการของทฤษฎีนี้กล่าวไว้ว่า เมื่อเราปลูกต้นไม้แล้วพูดหวาน ๆ กับมันว่า “โตเร็วๆ แข็งแรงๆ นะ” หรือในทางกลับกันพูดร้ายๆ ว่า “เหี่ยวตายไปเสียเถอะ” ทฤษฎีนี้ บอกว่า ต้นไม้เหล่านั้นแสดงอาการเจริญเติบโตต่างกันอย่างเห็นได้ชัด บทที่ 1 0 วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 303
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More