ข้อความต้นฉบับในหน้า
1.) ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
แม้ในปัจจุบันเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะตกต่ำลง แต่ GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวม
ในประเทศ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดขนาดเศรษฐกิจยังเป็นอันดับหนึ่งของโลก และเป็นอันดับหนึ่งติดต่อ
กันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาก้าวขึ้นสู่ความเป็น
มหาอำนาจของโลกอย่างเต็มตัว ทั้งด้านเศรษฐกิจ การทหาร วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตอน
นั้น GDP ของสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวมีมากถึงเกือบครึ่งหนึ่งของโลก
สหรัฐอเมริกาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หัวใจที่ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศ
เติบโต คือ การสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน และ หลักบริโภคนิยม กล่าวคือ เมื่อคนในประเทศมี
ความเชื่อมั่นโดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง ประชาชนก็จะจับจ่ายใช้สอยอย่างเต็มที่
ผู้ผลิตสินค้าและบริการก็จะขายสินค้าได้มาก ทำให้มีรายได้มาก มีกำไรมาก และจะขยายการ
ลงทุนเพิ่มขึ้น ขยายกิจการให้ใหญ่โตขึ้น ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ประชาชนก็จะมีรายได้มาก
ขึ้น ก็จะเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยไปอีกจึงทำให้ GDP สูงตามไปด้วย
หลักบริโภคนิยมนั้นถือว่าเป็นจุดเด่นของสหรัฐอเมริกา จนมีคำกล่าวว่าอเมริกาเป็น
“สังคมอุดมโภคา” (high-mass consumption) หมายถึง สังคมที่มีการบริโภคอย่างเต็มที่ แต่
เป็นการบริโภคโดยไม่คำนึงว่า “สิ่งใดจำเป็นและสิ่งใดฟุ่มเฟือย” หากช่วงใดเศรษฐกิจซบเซา
รัฐบาลจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้คนบริโภคมากเหมือนเดิม เช่น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ผลจากความซบเซาของเศรษฐกิจ ทำให้นายจ้างของบริษัทต่าง ๆ ลดตำแหน่งงานลงถึง 63,000
ตำแหน่ง ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช จึงตั้งงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 150,000
ล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอยและก่อให้เกิดการจ้างงานมากเท่าเดิม
อย่างไรก็ตามหลักบริโภคนิยมก็เป็นเหตุสำคัญให้สหรัฐอเมริกาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
จำนวนมากติดต่อกันมาเป็นเวลานานถึง 30-40 ปี เพราะสินค้าและบริการที่คนอเมริกันบริโภค
ไม่ได้ผลิตในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่นำเข้าจากต่างประเทศด้วย เมื่อคนบริโภคมากก็ต้อง
1 GDP (Gross Domestic Product ) หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและ
บริการขั้นสุดท้ายที่ถูกผลิตภายในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยมีการวัด 2 วิธีได้แก่ การวัดรายจ่าย และการวัด
รายได้.
ผู้จัดการ (2551). “บุชหวังงบ กระตุ้น ศก กว่า 1 แสน5หมื่น ช่วยให้เกิดการจ้างงานเพิ่ม” [ออนไลน์]
* การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด คือ การใช้จ่ายเกินตัวของประเทศ กล่าวคือ การส่งออกสินค้าและบริการ มีมูลค่า
น้อยกว่า การนําเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ.
* วีรพงษ์ รามางกูร (2549). “การขาดดุล กับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ.” [ออนไลน์].
บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ ในพระไตรปิฎก DOU 225