องค์ความรู้ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 15
หน้าที่ 15 / 373

สรุปเนื้อหา

บทนำนี้กล่าวถึงความลึกซึ้งและกว้างขวางขององค์ความรู้ในพระไตรปิฎก ซึ่งรวมถึงหลักคำสอนเพื่อความพ้นทุกข์และศาสตร์ทางโลกที่แบ่งออกเป็น 3 หมวดหลัก คือ มนุษยศาสตร์ (ศึกษาตัวมนุษย์และจิตใจ), สังคมศาสตร์ (ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์), และวิทยาศาสตร์ (ศึกษามนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ) ทั้งนี้องค์ความรู้ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกยังมีลักษณะที่ลึกซึ้งกว่าความรู้ในทางโลกเนื่องจากเป็นความรู้ที่เกิดจากการเห็นแจ้งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผ่านการภาวนาอย่างลึกซึ้ง ไม่ได้เกิดจากการอ่านหรือการคิดเช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์

หัวข้อประเด็น

-ความรู้ในพระไตรปิฎก
-มนุษยศาสตร์
-สังคมศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
-ศาสตร์ที่สำคัญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 1 บทนำ องค์ความรู้ในพระไตรปิฎกนั้นมีความลึกซึ้งและกว้างขวางมาก นอกจากจะมีหลัก คำสอนเพื่อความพ้นทุกข์แล้ว ยังมีองค์ความรู้ครอบคลุมศาสตร์ทางโลกต่าง ๆ มากมายอีกด้วย กล่าวคือครอบคลุมทั้งหมวดวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งศาสตร์ทั้งปวง ในทางโลกนั้นสรุปรวมลงได้ใน 3 หมวดวิชานี้ มนุษยศาสตร์นั้นกล่าวถึงตัวมนุษย์โดยเน้นโลกภายในของมนุษย์ ได้แก่ เรื่องจิตใจ ความรู้สึกนึกคิดคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งมีสาขาวิชาย่อยดังนี้ เช่น วิชาศาสนา วิชาปรัชญา วิชาภาษาศาสตร์ อารยธรรม และ วิชาประวัติศาสตร์ เป็นต้น สังคมศาสตร์นั้นกล่าวถึงมนุษย์กับความสัมพันธ์ของมนุษย์ด้วยกัน เป็นเรื่องโลก ภายนอกของมนุษย์ทางด้านสังคม ซึ่งมีสาขาวิชาย่อยดังนี้ เช่น รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วาทศาสตร์ การจัดการ และ สังคมวิทยา เป็นต้น ส่วนวิทยาศาสตร์นั้นมีชื่อเต็มว่า “วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ” เป็นหมวดวิชาที่ว่าด้วย เรื่องมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพซึ่งเป็นโลกภายนอกของมนุษย์เช่นกัน มีสาขาวิชาย่อย ดังนี้ เช่น เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา แพทยศาสตร์ ดาราศาสตร์ และ เกษตรศาสตร์ เป็นต้น วิชาสรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎกนี้กล่าวถึงศาสตร์ที่สำคัญๆ ทั้งหมด 7 ศาสตร์ โดยมี ศาสตร์ที่เป็นหมวดวิชาใหญ่ 2 ศาสตร์ คือ มนุษยศาสตร์ กับ วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ที่เป็น สาขาวิชาย่อยอีก 5 ศาสตร์ คือ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วาทศาสตร์ และแพทยศาสตร์ ซึ่ง 4 ศาสตร์แรก ได้แก่ รัฐศาสตร์ เป็นต้น จัดอยู่ในหมวดวิชาสังคมศาสตร์ ส่วนแพทยศาสตร์นั้น จัดอยู่ในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ องค์ความรู้ในพระไตรปิฎกนั้นเน้นเรื่องมนุษยศาสตร์เป็นหลัก รองลงมาคือ สังคมศาสตร์ ส่วนด้านวิทยาศาสตร์นั้นมีกล่าวไว้เพียงส่วนน้อย แต่แม้จะมีน้อยถึงกระนั้นก็มี ความลึกซึ้งและกว้างไกลกว่าองค์ความรู้ในทางโลกมาก เพราะเป็นความรู้แจ้งที่เกิดจากเห็นแจ้ง ด้วยภาวนามยปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้เป็นความรู้ที่เกิดจากการอ่านการคิดและ ตั้งสมมติฐานแบบนักวิทยาศาสตร์ 4 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More