วิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 322
หน้าที่ 322 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการยืนยันความถูกต้องของหลักวิทยาศาสตร์ทางใจในพระพุทธศาสนาผ่านมุมมองของความเชื่อและความรู้。กล่าวถึงการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ยาก เผยให้เห็นว่าความเข้าใจในหลายประเด็น เช่น เชื้อโรคและทฤษฎีสัมพัทธภาพ มักขึ้นอยู่กับนักวิทยาศาสตร์เพียงไม่กี่คนที่สามารถตีความได้。นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงการประเมินตนเองหลังจากการศึกษาในบทที่ 10 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าใจวิทยาศาสตร์ที่มีในพระไตรปิฎก。

หัวข้อประเด็น

-หลักการของพระพุทธศาสนา
-ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และความเชื่อ
-การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
-ทฤษฎีสัมพัทธภาพ
-การศึกษาในพระไตรปิฎก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เป็นพยานยืนยันความถูกต้องของหลักวิทยาศาสตร์ทางใจของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมาย นับล้านคน ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน วงการวิทยาศาสตร์มักกล่าวว่าคำสอนต่าง ๆ ในศาสนา เช่น พระพุทธศาสนา เป็นต้น เป็นเรื่องของความเชื่อ ไม่ใช่ความรู้ หรือ ความจริง เพราะยังพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไม่ ได้ ในประเด็นนี้จริงๆ แล้วความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันสำหรับชาวโลกทั่วไปแล้ว เป็น เรื่องของความเชื่อเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องยากแก่การพิสูจน์บ้างหรือไม่ก็ไม่สนใจจะ พิสูจน์บ้าง ชาวโลกเชื่อว่าเชื้อโรคเป็นเหตุแห่งการเจ็บป่วยเพราะเชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ ค่อยมีใครคิดจะหากล้องจุลทรรศน์มาพิสูจน์เรื่องนี้กันหรอก นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ไม่ น้ำ ประกอบด้วย H O คือ ก๊าซไฮโดรเจน 2 และ ก๊าซออกซิเจน 1 เด็กนักเรียนระดับมัธยมท่องจำ กันได้ทุกคนและเชื่อตามทั้งที่โดยส่วนใหญ่แล้วไม่เคยเห็นเลยว่า H 0 นั้นมีรูปร่างหน้าตาเป็น อย่างไร? นอกจากนี้การพิสูจน์ความจริงของวิทยาศาสตร์กลายเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญพิเศษ คนธรรมดาสามัญไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะพิสูจน์ได้ เช่น ไม่สามารถเข้าถึง คณิตศาสตร์ชั้นสูง เป็นต้น แม้แต่ไอน์สไตน์เองก็ยังเหนื่อยกับการศึกษาคณิตศาสตร์ชั้นสูงเพื่อ นำมาอธิบายทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไอน์ไสตน์เคยกล่าวไว้เมื่อครั้ง ที่เขาประกาศทฤษฎีสัมพัทธภาพออกมาไม่นานว่า ทั่วทั้งโลกมีคนเพียง 12 คนเท่านั้นที่เข้าใจ ทฤษฎีสัมพัทธภาพของเขา ด้วยเหตุนี้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เรื่องเชื้อโรคก็ดี น้ำประกอบด้วย H 0 ก็ดี อิเล็กตรอนก็ดี และ ทฤษฎีสัมพัทธภาพก็ดี จึงอยู่ในฐานะเดียวกับเรื่องนรกสวรรค์ในพระพุทธ ศาสนา คือ แม้จะเป็นความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ แต่มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้ทดลองพิสูจน์ ด้วยวิธีการที่ถูกต้องจนประจักษ์ด้วยตนเองว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริง กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 10 วิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 10 และกิจกรรมในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 10 แล้วจึงศึกษาบทที่ 11 ต่อไป บทที่ 1 0 วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 311
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More