การระงับอธิกรณ์ในพระธรรมวินัย GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 203
หน้าที่ 203 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงกระบวนการระงับอธิกรณ์ในพระธรรมวินัย โดยอธิบายว่าหากภิกษุไม่สามารถระงับอธิกรณ์ได้ด้วยอุพพาหิกวิธี ให้สงฆ์ส่งต่อไปยังสงฆ์อนุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยวิธีเยยยสิกา การใช้วิธีการเหล่านี้ทำให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสงฆ์และช่วยรักษาความถูกต้องของพระธรรมวินัย หากมีการรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ระงับแล้ว จะต้องมีการจัดการด้านอาบัติปาจิตตีย์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการแก้ปัญหากรณีที่มีผู้คัดค้านการวินิจฉัยซึ่งทุกคนต้องร่วมมือกันเพื่อความสงบเรียบร้อยในหมู่สงฆ์

หัวข้อประเด็น

-การวินิจฉัยอธิกรณ์
-อุพพาหิกวิธี
-การแก้ปัญหาการคัดค้าน
-เยยยสิกา
-พระธรรมวินัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่ มีเสียงเซ็งแซ่ เกิดขึ้น และไม่ทราบเนื้อความแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับ อธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาฬิกวิธี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงทักท้วง” “ภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย อันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาฬิกวิธี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้” ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นด้วยอุพพาหิกวิธีนี้ อธิกรณ์นั้นก็ถือว่าระงับ แล้ว แต่ยังถือว่าระงับด้วยสัมมุขาวินัยอยู่ ผู้ทำการรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ระงับแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ เช่นเดียวกัน 1.3) การแก้ปัญหาเมื่อมีผู้คัดค้านการวินิจฉัย ถ้ายังระงับอธิกรณ์ไม่ได้และขณะวินิจฉัยอธิกรณ์อยู่ มีภิกษุธรรมกถูกกล่าวด้านการ วินิจฉัยนั้น คัดค้านโดยที่ตนเองจำเนื้อหาพระธรรมวินัยในส่วนที่คัดค้านนั้นไม่ได้ หรือจำได้ บ้างไม่ได้บ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ภิกษุผู้ฉลาดจึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า “ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้เป็นธรรมกถึก เธอจำเนื้อหาพระ ธรรมวินัยในส่วนที่คัดค้านนั้นไม่ได้เลย หรือจำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ได้คัดค้าน ถ้าความพร้อม พรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว พวกเราจึงขับภิกษุชื่อนี้ให้ออกไปแล้วที่เหลือจึงระงับอธิกรณ์นี้” ถ้าภิกษุเหล่านั้นขับภิกษุเหล่านั้นออกไปแล้วสามารถระงับอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์นั้นก็ ถือว่าระงับแล้ว แต่ยังถือว่าระงับด้วยสัมมุขาวินัยอยู่ ผู้ทำการรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ระงับแล้วต้อง อาบัติปาจิตตีย์เช่นเดียวกัน 2.) การระงับอธิกรณ์ด้วยสัมมุขาวินัยและเยยยสิกา ถ้าภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถระงับอธิกรณ์นั้นด้วยอุพพาหิกวิธี ก็พึงมอบอธิกรณ์นั้นแก่ สงฆ์ว่า ท่านเจ้าข้า พวกข้าพเจ้าไม่สามารถระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ขอสงฆ์นั่นแหละจง ระงับอธิกรณ์นี้ เมื่อเป็นเช่นนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็อนุญาตให้สงฆ์ระงับอธิกรณ์นี้ด้วย “เยฮุยยสิกา” 192 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More