การพูดและการใช้คำพูดอย่างมีคุณค่า GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 251
หน้าที่ 251 / 373

สรุปเนื้อหา

ปากมีหน้าที่สำคัญถึงสองอย่างคือการกินและการพูด แต่ธรรมชาติกำหนดให้เราพูดให้น้อยและฟังให้มาก การพูดที่ดีควรเป็นคำจริง สุภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง นอกจากนี้คำพูดยังต้องถูกกาลเทศะและมาจากจิตเมตตา ในทางกลับกันวาจาทุพภาษิตจะมีลักษณะตรงกันข้าม เช่น เป็นคำเท็จหรือคำหยาบ และไม่เหมาะสมในสถานการณ์นั้นๆ คนที่ฉลาดจะต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ควรพูดและไม่ควรพูด เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อผู้อื่น

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของปาก
-องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต
-วาจาทุพภาษิต
-การพูดที่มีประโยชน์
-การพูดถูกกาลเทศะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แต่ปาก มีหน้าที่ถึง 2 อย่าง คือ ทั้งกินและพูด ธรรมชาติกลับให้ มาเพียงปากเดียว แสดงว่าธรรมชาติต้องการให้คนดูให้มาก ฟังให้มาก แต่พูดให้น้อยๆ ให้มีสติคอยระมัดระวังปาก จะกินก็กินให้พอเหมาะ จะพูดก็พูด ให้พอดี ลักษณะคำพูดที่พอเหมาะพอดี เป็นคุณทั้งแก่ตัว ผู้พูดและผู้ฟังเรียกว่า วาจาสุภาษิต 2) องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต (1) ต้องเป็นคำจริงไม่ใช่คำพูดที่ปั้นแต่งขึ้นเป็นคำพูดที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็น จริง ไม่บิดเบือนจากความจริง ไม่เสริมความ ไม่อำความ ต้องเป็นเรื่องจริง จริง จริง (2) ต้องเป็นคำสุภาพ เป็นคำพูดไพเราะ ที่กลั่นออกมาจากน้ำใจที่บริสุทธิ์ ไม่เป็นคำ หยาบ คำด่า คำประชดประชัน คำเสียดสี คำหยาบนั้นฟังก็ระคายหู แค่คิดถึงก็ระคายใจ (3) พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ เกิดผลดีทั้งแก่คนพูดและคนฟัง ถึงแม้คำพูดนั้นจะ จริงและเป็นคำสุภาพ แต่ถ้าพูดแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไร กลับจะทำให้เกิดโทษ ก็ไม่ควรพูด (4) พูดด้วยจิตเมตตา พูดด้วยความปรารถนาดี อยากให้คนฟังมีความสุข มีความ เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ในข้อนี้หมายถึงว่า แม้จะพูดจริง เป็นคำสุภาพ พูดแล้วเกิดประโยชน์ แต่ถ้าจิต ยังคิดโกรธมีความริษยาก็ยังไม่สมควรพูด เพราะผู้ฟังอาจรับไม่ได้ (5) พูดถูกกาลเทศะ แม้ใช้คำพูดที่ดี เป็นคำจริง เป็นคำสุภาพ เป็นคำพูดที่มีประโยชน์ และพูดด้วยจิตที่เมตตา แต่ถ้าผิดจังหวะ ไม่ถูกกาลเทศะ ผู้ฟังยังไม่พร้อมที่จะรับแล้ว จะก่อให้ เกิดผลเสียได้ เช่น จะกลายเป็นประจานกันหรือจับผิดไป - พูดถูกเวลา (กาล) คือ รู้ว่าเวลาไหนควรพูด เวลาไหนยังไม่ควรพูด ควรพูดนานเท่าไร ต้องคาดผลที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย - พูดถูกสถานที่ (เทศะ) คือรู้ว่าในสถานที่เช่นไร เหตุการณ์แวดล้อมเช่นไรจึงสมควร ที่จะพูด หากพูดออกไปแล้วจะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร เช่น มีความหวังดีอยากเตือนเพื่อนไม่ ให้ดื่มเหล้า แต่ไปเตือนขณะเพื่อนกำลังเมาอยู่ในหมู่เพื่อนฝูง ทำให้เขาเสียหน้า อย่างนี้นอกจาก เขาจะไม่ฟังแล้ว เราเองอาจเจ็บตัวได้ คนฉลาดจึงไม่ใช่เป็นแต่พูดเท่านั้น ต้องนิ่งเป็นด้วย คนที่ พูดเป็นนั้น ต้องรู้ในสิ่งที่ไม่ควรพูดให้ยิ่งกว่าสิ่งที่ควรพูด ส่วนวาจาทุพภาษิตก็มีองค์ประกอบ 5 ประการเช่นกันซึ่งตรงกันข้ามกับวาจาสุภาษิต คือ เป็นคำเท็จ เป็นคำหยาบ เป็นคำไร้ประโยชน์ พูดโดยไม่มีเมตตาจิต และพูดไม่ถูกกาลเทศะ 240 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More