การสร้างบุญและฐานะทางเศรษฐกิจ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 219
หน้าที่ 219 / 373

สรุปเนื้อหา

บุญมีสองประเภทคือบุญเก่าและบุญใหม่ โดยบุญเก่าคือบุญที่ทำไว้ในอดีตชาติ ส่วนบุญใหม่คือบุญที่ทำในปัจจุบัน วิธีการสร้างบุญมี 3 ประการ ได้แก่ การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญสมาธิ การให้ทานมีผลต่อฐานะทางเศรษฐกิจมากที่สุด ในขณะที่บุญเก่าส่งผลให้ชีวิตในปัจจุบันมีความเจริญรุ่งเรือง สำหรับการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจในพุทธศาสนา มีหลักที่เรียกว่า “ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์” ที่ประกอบด้วย 4 ประการ คือ หาทรัพย์เป็น, เก็บรักษาทรัพย์เป็น, สร้างเครือข่ายคนดี, และใช้ชีวิตเป็น โดยหลักการเหล่านี้จะช่วยให้ผู้สร้างฐานะทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องและมั่นคง โดยอาศัยบุญเก่าที่สะสมในอดีตเป็นหลัก

หัวข้อประเด็น

-บุญเก่า
-บุญใหม่
-การให้ทาน
-การรักษาศีล
-การเจริญสมาธิ
-ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
-สร้างฐานะทางเศรษฐกิจ
-หลักหัวใจเศรษฐี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บุญมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ บุญเก่า และ บุญใหม่ บุญเก่าคือบุญที่ทำไว้ในอดีตชาติ ส่วนบุญใหม่ คือบุญที่ได้ทำในปัจจุบันชาติ วิธีการสร้างบุญมีอย่างน้อย 3 ประการ คือ การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญ สมาธิภาวนา โดยบุญที่ทำให้มีฐานะร่ำรวยนั้นคือ บุญที่เกิดจากการให้ทานเป็นหลัก ส่วนบุญ จากการรักษาศีลและเจริญภาวนาเป็นส่วนเสริม ใครที่ได้ให้ทานไว้มากก็จะเป็นเหตุให้มีฐานะ ร่ำรวยมากเป็นระดับมหาเศรษฐีของประเทศหรือของโลกทีเดียว ส่วนใครให้ทานมาน้อยหรือ ไม่ได้ให้ทานเลย ก็จะลำบากยากจน หลักการส่งผลของบุญมีดังนี้ คือ บุญเก่าหรือบุญในอดีตชาติจะส่งผลก่อนและส่งผล อย่างเต็มที่ เปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ซึ่งปลูกไว้นานแล้ว จึงมีความพร้อมในการผลิดอกออกผล ส่วนต้นไม้ที่เพิ่งปลูกก็เปรียบเสมือนบุญใหม่ จึงต้องรอเวลาให้มันเจริญเติบโตสักระยะหนึ่งจึงจะ ให้ผล ดังนั้นวิถีชีวิตของมนุษย์แต่ละคนในชาตินี้หรือในทุก ๆ ชาติที่เกิดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับบุญเก่า ที่ได้ทำไว้ในอดีตชาติเป็นหลัก คือ ประมาณ 70-80% ส่วนบุญใหม่เป็นส่วนเสริม คือ ส่งผล ในชาตินี้เพียงประมาณ 20-30% มหาเศรษฐีของโลกในปัจจุบันนี้ก็เช่นกันร่ำรวยเพราะบุญเก่าในอดีตชาติส่งผลเป็นหลัก ดังจะเห็นได้ว่า หลายต่อหลายคนในชาตินี้ไม่ได้เป็นชาวพุทธ ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องบุญ และก็ไม่ได้สร้างบุญในพระพุทธศาสนา อย่างดีก็แค่ทำบุญสังคมสงเคราะห์กับชาวโลกทั่วไป แต่ เขาก็ร่ำรวยได้ ทั้งนี้เพราะบุญเก่าที่ทำไว้ในอดีตชาติเป็นหลักมาส่งผล สาเหตุส่วนหยาบ คือ ขวนขวายสร้างฐานะ วิธีสร้างฐานะทางเศรษฐกิจนี้ มีศัพท์ทางศาสนา เรียกว่า “ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์” แปลว่า ประโยชน์ในปัจจุบัน ซึ่งชาวพุทธรู้จักกันในนาม “หลักหัวใจเศรษฐี” เป็นวิธีสร้างฐานะ ที่ถูกต้องชอบธรรม ไม่ก่อกรรมสร้างเวรให้กับใคร ซึ่งมี 4 ประการ ดังนี้ 1.) อุฏฐานสัมปทา หาทรัพย์เป็น 2.) อารักขสัมปทา 3.) กัลยาณมิตตตา เก็บรักษาทรัพย์เป็น สร้างเครือข่ายคนดีเป็น 4.) สมชีวิตา ใช้ชีวิตเป็น 208 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More