ข้อความต้นฉบับในหน้า
สาเหตุที่ทำให้อุปสงค์มาก
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้อุปสงค์เรื่องน้ำมันมีมาก คือ การใช้อย่างฟุ่มเฟือย, ประชากรโลก
เพิ่มขึ้น, การขยายตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และการกักตุนเพื่อเก็งกำไรของกลุ่ม
เฮดจ์ฟันด์ เป็นต้น ส่วนสาเหตุที่ทำให้อุปสงค์เรื่องอาหารมีมากนั้นก็คล้าย ๆ กันคือ การใช้
อย่างฟุ่มเฟือย, ประชากรโลกเพิ่มขึ้น และ การกักตุนเพื่อเก็งกำไรของนายทุนบางกลุ่ม เป็นต้น
การใช้น้ำมันอย่างฟุ่มเฟือยจะทำให้น้ำมันหมดไปมากและรวดเร็ว จึงต้องจัดหามาเพิ่ม
อุปสงค์จึงเพิ่ม การที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอุปสงค์ทุกๆ ด้านจึงเพิ่มขึ้นด้วย การขยายตัวทาง
เศรษฐกิจก็เหมือนกัน เช่น ความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนส่งผลให้จีนต้องการ
น้ำมันจำนวนมาก ปริมาณการบริโภคน้ำมันส่วนที่เพิ่มขึ้นของโลกนั้น จำนวนถึง 40% เกิด
จากการบริโภคเพิ่มขึ้นของประเทศจีน
การกักตุนเพื่อเก็งกำไรของกลุ่มเฮดจ์ฟันด์นั้นกำลังเป็นปัญหาใหญ่ ปัจจุบัน
เฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund) ในสหรัฐอเมริกามีอยู่ประมาณ 8,000 กองทุน มีมูลค่าสินทรัพย์
รวมมากถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์” มนูญ ศิริวรรณ อดีตผู้บริหารบริษัทบางจาก กล่าวถึงเรื่องนี้
เมื่อปีที่แล้วว่า เฮดจ์ฟันด์ได้ซื้อน้ำมันดิบไปสำรองไว้ถึง 1,000 ล้านบาร์เรล น้ำมันจำนวนนี้เป็น
ปริมาณที่เมืองไทยทั้งประเทศนำเข้าถึง 3 ปี เมื่อมีการกักตุนจึงทำให้น้ำมันในตลาดเหลือน้อย
ลง ราคาจึงแพงขึ้นหรือที่เรียกว่าถูก “ปั่นราคา” เมื่อราคาสูงถึงระดับหนึ่งเฮดจ์ฟันด์ก็จะเทขาย
เพื่อเอากำไร
สาเหตุที่ทำให้อุปทานน้อย
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้อุปทานหรือการผลิตน้ำมันส่งตลาดโลกมีน้อยมี 2 ประการ คือ
ปริมาณน้ำมันในธรรมชาติลดลง และภัยคุกคามแหล่งน้ำมัน เช่น การโจมตีบ่อน้ำมันและท่อ
ส่งน้ำมัน, โจรสลัดปล้นเรือบรรทุกน้ำมัน และปัญหาสงครามในประเทศผลิตน้ำมัน เป็นต้น
มีการประมาณกันว่าน้ำมันที่สามารถเอามาใช้ได้จะหมดโลกอีกไม่เกิน 40 ปี ส่วนน้ำมัน
ที่ยังเอามาใช้ไม่ได้นั้นก็ยังมีอยู่แต่กระบวนการนำมาใช้ยากขึ้นและต้องใช้งบประมาณมากขึ้นจึงไม่
คุ้มกับการลงทุน นักธรณีวิทยาด้านน้ำมันส่วนใหญ่เชื่อว่า มีการสำรวจแหล่งน้ำมันใหม่ไปแล้ว
1
3
กรุงเทพธุรกิจ (2550). “เปิดกลยุทธ์เฮดจ์ ฟันด์ ปี 49 กำไร 1 ล้านล้านดอลล์” (ออนไลน์)
มนูญ ศิริวรรณ (2550). “เฮดจ์ฟันด์กว้านซื้อน้ำมันปั่นราคาฯ” (ออนไลน์)
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบ 908,000 บาร์เรลต่อวัน [Moneyline News]
บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ ในพระไตรปิฎก DOU 229