อนาคามิผลและมิจฉาวณิชชา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 224
หน้าที่ 224 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับอนาคามิผลและขั้นตอนต่างๆ ของการทำงานในมนุษย์ รวมถึงอาชีพที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำในการเลือกประกอบอาชีพ เช่น หลีกเลี่ยงมิจฉาวณิชชาที่เป็นอันตรายต่อสังคมและตัวเอง โดยมีการระบุ 5 ประการของมิจฉาวณิชชา ได้แก่ การค้าขายอาวุธ การค้าขายสัตว์ การค้าขายเนื้อ การค้าขายของมึนเมา และการค้าขายยาพิษ ซึ่งทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดโทษต่อผู้ทำและสังคม

หัวข้อประเด็น

-อนาคามิผล
-มิจฉาวณิชชา
-ศีลธรรมในการประกอบอาชีพ
-อาชีพที่ควรหลีกเลี่ยง
-ผลกรรมในชาตินี้และชาติหน้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อนาคามิผล ถ้าไม่ผลาญทรัพย์ให้หมดไป ประกอบการงานในมัชฌิมวัย ก็จักได้เป็นเศรษฐีชั้นที่ 2 ถ้าออกบวชก็จักได้เป็นอนาคามี ภรรยาของเขาก็จักดำรงอยู่ในสกทาคามิผล ถ้าไม่ผลาญทรัพย์ ให้สิ้นไป ประกอบการงานในปัจฉิมวัย จักได้เป็นเศรษฐีชั้นที่ 3 ถ้าออกบวชก็จักได้เป็นสกทาคามี ภรรยาของเขาก็จักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แต่บุตรเศรษฐีนั่นทั้งเสื่อมแล้วจากโภคะของคฤหัสถ์ ทั้งเสื่อมแล้วจากสามัญผล จึงเป็นเหมือนนกกะเรียนในเปือกตมแห้งฉะนั้น 8.3.2 มิจฉาวณิชชาการค้าต้องห้าม อาชีพต่างๆ ในโลกนี้มีอยู่หลากหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักในการเลือก ประกอบอาชีพไว้ว่า “ให้เลือกประกอบอาชีพที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม” ส่วนอาชีพใดที่ขัดต่อหลักศีล ธรรม เช่น มิจฉาวณิชชา เป็นต้น พึงละเว้น เพราะจะทำให้เกิดโทษแก่ตนเองและคนในสังคม ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส “มิจฉาวณิชชา” ซึ่งเป็นการค้าขายที่ไม่พึงกระทำไว้ 5 ประการ ได้แก่ สัตถวณิชชา คือ การค้าขายอาวุธ, สัตตวณิชชา คือ การค้าขายสัตว์, มังสวณิชชา คือ การค้าขายเนื้อ, มัชชวณิชชา คือ การค้าขายของมึนเมา และวิสวณิชชา คือ การค้าขายยาพิษ 1) การค้าขายอาวุธ หมายถึง การให้สร้างอาวุธและขายอาวุธนั้น ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะ การค้าขายอาวุธ เป็นเหตุให้เกิดการรบราฆ่าฟันกันตายได้ 2) การค้าขายสัตว์ในที่นี้หมายถึง การค้าขายมนุษย์ ที่ห้ามค้าขายก็เพราะทำให้มนุษย์ หมดอิสรภาพ เช่น การค้าขายสตรีเพื่อให้เป็นหญิงโสเภณี เป็นต้น 3) การค้าขายเนื้อ หมายถึง การเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร เป็นต้น ไว้ขาย หรือการซื้อสัตว์ มาแล่เนื้อแล้วขาย ที่ห้ามค้าขายเพราะจะเป็นเหตุให้ต้องผิดศีลข้อปาณาติบาต 4) การค้าขายของมึนเมา หมายถึง การให้ปรุงของมึนเมาชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วขาย ที่ ห้ามค้าขายเพราะเป็นเหตุให้ผู้ดื่มเกิดความประมาท เมื่อละโลกไปแล้วก็จะไปสู่ทุคติ 5) การค้าขายยาพิษ หมายถึง การให้ทำยาพิษและค้าขายยาพิษนั้น ยาพิษในปัจจุบัน หมายรวมถึงยาเสพติดด้วย เช่น ยาบ้า ยาอี เฮโรอีน เป็นต้น ที่ห้ามขายเพราะจะก่อให้เกิดทุกข์แก่ ผู้เสพและผู้ขายทั้งในชาตินี้และชาติหน้า การค้าทั้ง 5 ประการนี้ก่อให้เกิดโทษทั้งแก่ผู้ขายและผู้ซื้อรวมทั้งสังคมโดยรวมมาก โทษที่เกิดกับผู้ขายเองแม้ในปัจจุบันชาติจะเห็นผลไม่ค่อยชัด อย่างมากก็อาจจะรู้สึกไม่สบายใจ ที่เห็นลูกค้าของตนและคนที่เกี่ยวข้องมีอันเป็นไปต่าง ๆ แต่เมื่อผู้ขายละโลกไปแล้วจะเห็นผลชัดเจน บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ ในพระไตรปิฎก DOU 213
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More