กุศลกรรมบถ 10 และ จักรวรรดิวัตร GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 141
หน้าที่ 141 / 373

สรุปเนื้อหา

กุศลกรรมบถ 10 เป็นหลักการที่ใช้ในการปกครองทั้งตนและผู้อื่น ประกอบด้วยการงดเว้นจากการกระทำที่เป็นโทษ 10 ประการ เช่น การฆ่าสัตว์ และการพูดเท็จ จักรวรรดิวัตร รวมถึงธรรมที่ใช้ในการปกครองของพระเจ้าจักรพรรดิ โดยมีความสำคัญในการปกครองและปรับปรุงสังคม. สอนให้รู้จักคุณธรรมและการมีจิตใจที่บริสุทธิ์ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในจริยาปิฎก.

หัวข้อประเด็น

-กุศลกรรมบถ 10
-จักรวรรดิวัตร
-ธรรมะในการปกครอง
-การใช้ชีวิตด้วยศีลธรรม
-การงดเว้นจากการกระทำที่เป็นโทษ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2. กุศลกรรมบถ 10 กุศลกรรมบถ แปลว่า ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล หรือ ทางแห่งกรรมดี กุศลกรรมบถนั้น เป็นธรรมที่มีมาก่อนยุคพุทธกาล ผู้ปกครองในอดีต ใช้เป็นหลักในการปกครองตน ดังที่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในจริยาปิฎก เรื่องเอกราชจริยาว่า ในกาลเมื่อเราเป็นพระราชาพระนามว่า เอกราช เราอธิษฐานศีลอันบริสุทธิ์ยิ่งปกครองแผ่นดินใหญ่ สมาทานกุศลกรรมบถ 10 ประการครบถ้วน สงเคราะห์มหาชนด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ กุศลกรรมบถ 10 นั้นประกอบ ด้วย (1) เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ (2) เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ (3) เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม (4) เว้นขาดจากการพูดเท็จ (5) เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด (6) เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ (7) เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ (8) ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา (9) มีจิตไม่พยาบาท (10) มีสัมมาทิฏฐิคือมีความเห็นชอบ 3. จักรวรรดิวัตร จักรวรรดิวัตร หมายถึง ธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นธรรมที่มีมาแต่เดิมก่อนการ ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นกัน ซึ่งมี 5 ประการ โดยข้อที่ 1 และ ข้อที่ 5 เป็นธรรมสำหรับ ปกครองตนของพระเจ้าจักรพรรดิ ส่วนข้อ 2, 3 และ 4 เป็นธรรมสำหรับปกครองคน (1) พระเจ้าจักรพรรดิทรงอาศัยธรรม สักการะธรรม เคารพธรรม นับถือธรรม บูชา ธรรม นอบน้อมธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ ธรรมในที่นี้ คือ กุศล- กรรมบถ 10 ประการ ปรมัตถทีปนี, อรรถกถาขุททกนิกาย จริยาปิฎก, มก. เล่ม 74 ข้อ 34 หน้า 535. 130 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More