ความรู้ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 294
หน้าที่ 294 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงการแสวงหาความรู้ในพระไตรปิฎกซึ่งรวมถึงสามประเภทของปัญญาคือ สุตมยปัญญา, จินตามยปัญญา และ ภาวนามยปัญญา โดยเน้นความสำคัญของการฟัง การคิดและการฝึกฝน เพื่อนำไปสู่ความรู้ที่ลึกซึ้งและมีคุณค่าในชีวิต นักฟิสิกส์ยังสามารถเปิดเผยสิ่งที่ไม่รู้จักในวิชาอันซับซ้อนนี้ได้ต่อไปที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ความรู้ในพระไตรปิฏก
-สุตมยปัญญา
-จินตามยปัญญา
-ควอนตัมฟิสิกส์
-การศึกษาและการเรียนรู้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สม่ำเสมอ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน จะเป็นเท่านั้น ไอน์สไตน์เองก็กังวลว่า สิ่งที่สามารถพยากรณ์ได้ในโลกแห่งอนุภาคมีเพียงความน่า ควอนตัมฟิสิกส์เติบโตโดยไม่เคารพกฎการเรียงลำดับเหตุ (cause) ไปสู่ผล (effect) ไอน์สไตน์มีความเชื่อมั่นว่า ทฤษฎีควอนตัม ยังไม่สมบูรณ์ต้องมี ความผิดพลาดบางประการ แต่เขาเองก็อธิบายไม่ได้ว่าทฤษฎีนี้มีความผิดพลาดตรงไหน ซึ่ง ต้องรอนักฟิสิกส์ในปัจจุบันช่วยกันศึกษาค้นคว้าเพื่อให้เกิดความกระจ่างในเรื่องนี้ต่อไป 10.4 วิธีการแสวงหาความรู้ในพระไตรปิฏก ในพระไตรปิฎกได้กล่าวไว้ถึงวิธีการแสวงหาความรู้หรือปัญญาไว้ 3 ประการ คือ สุตมยปัญญา, จินตามยปัญญา และ ภาวนามยปัญญา” โดยแต่ละประการมีความหมายดังนี้ 10.4.1 สุตมยปัญญา : ปัญญาอันเกิดจากการฟัง สุตมยปัญญา มาจาก สุต (ฟัง)+ มย (สำเร็จด้วย) + ปัญญา (ปัญญา) หมายถึง ปัญญาอันสำเร็จด้วยการฟัง หรือ ความรู้อันเกิดจากการฟัง แต่ในปัจจุบันยังหมายรวมไปถึง การอ่าน, การดู, การชม ฯลฯ ด้วย ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีหนังสือให้อ่าน ยังไม่มีสื่อต่าง ๆ ให้ดู การเรียนรู้สิ่งต่างๆ จะใช้การฟังจากครูเป็นหลัก แต่ปัจจุบันช่องทางการเรียนรู้มีมาก ไม่จำเป็น ต้องฟังจาก ครูโดยตรง สามารถอ่านได้จากหนังสือที่ครูหรือผู้รู้ท่านต่าง ๆ เขียนเอาไว้ สามารถ ดูได้จากสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย หัวใจหลักของ สุตมยปัญญา คือ การจับประเด็น ให้ได้ว่า ผู้พูดๆ ถึงเรื่องอะไรบ้าง ประเด็นใหญ่คืออะไร ประเด็นย่อยมีอะไรบ้าง จับประเด็นให้ได้ว่า หนังสือที่อ่านกล่าวถึงเรื่อง อะไร หากไม่รู้จักจับประเด็น เราจะได้ประโยชน์จากการฟังหรือการอ่านน้อยมาก เพราะเมื่อ ฟังหรืออ่านหนังสือจบแล้ว จะจำอะไรแทบไม่ได้เลย แต่ถ้าจับประเด็นได้ อย่างน้อยๆ เราจะจำ ประเด็นได้เ เมื่อจำประเด็นได้จะสามารถเชื่อมโยงไปสู่รายละเอียดได้ ความรู้ที่ได้จากสุตมยปัญญา จึงเป็นความรู้ประเภท ความรู้จำ 10.4.2 จินตามยปัญญา : ปัญญาอันเกิดจากการคิด จินตามยปัญญา มาจาก จินฺต (ความคิด) + มย (สำเร็จด้วย) + ปญฺญา (ปัญญา) หมายถึง ปัญญาอันสำเร็จด้วยความคิด หรือ ความรู้อันเกิดจากความคิด กล่าวคือ เมื่อจับประเด็น ใน สิ่งที่ฟังหรืออ่านได้แล้ว ก็ต้องนำความรู้นั้นมาไตร่ตรองเพื่อให้เข้าใจ เพราะหากเพียงแค่จำ 1 สังคีติสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มจร. เล่ม 11 ข้อ 107 หน้า 271. บทที่ 1 0 วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 283
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More