ข้อความต้นฉบับในหน้า
ญัตติจตุตถกรรม แปลว่า กรรมที่มีญัตติเป็นที่สี่ หมายถึง กรรมที่มีวาจาหรือการ
กล่าวครบ 4 รวมทั้งญัตติ กล่าวคือ เมื่อมีการสวดตั้งญัตติแล้ว จะมีการสวดอนุสาวนาคือคำ
สวดประกาศขอมติจากสงฆ์อีก 3 ครั้งรวมเป็นสี่จึงชื่อว่าญัตติจตุตถกรรม ทั้งนี้เพื่อใ
ทั้งนี้เพื่อให้คณะสงฆ์
มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยวว่า จะอนุมัติหรือไม่ ญัตติจตุตถกรรมใช้กับพิธีกรรมที่มีความสำคัญ
เช่น การอุปสมบท นิคหกรรม เป็นต้น
คำว่า “นิคหกรรม” อ่านว่า นิก-คะ-หะ-กำ มาจากคำว่า “นิคหะ + กรรม” นิคหะ
แปลว่า การข่มหรือการลงโทษ ส่วนกรรม แปลว่า การกระทำ คำว่า นิคหกรรม จึงแปลว่า การ
กระทำการข่มหรือการกระทำการลงโทษ
นิคหกรรม เป็นมาตรการลงโทษขั้นที่ 2 หลังจากปรับอาบัติผู้ที่ละเมิดสิกขาบทหรือ
กฎข้อห้ามอื่นๆ แล้ว นิคหกรรมใช้ในกรณีความผิดที่ร้ายแรง เช่น ก่อการทะเลาะวิวาทบาดหมาง
ทำความอื้อฉาว มีศีลวิบัติ ติเตียนพระรัตนตรัย เล่นคะนอง ประพฤติอนาจาร ลบล้างพระบัญญัติ
ประกอบมิจฉาชีพ เป็นต้น
สำหรับมูลเหตุแห่งกิจจาธิกรณ์นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “สงฆ์เป็นมูลอัน
หนึ่งแห่งกิจจาธิกรณ์” ทั้งนี้เพราะกิจจาธิกรณ์ หมายถึง กิจที่ “สงฆ์” จะพึงกระทำ ดังนั้นสงฆ์
เท่านั้นที่จะให้มีกิจจาธิกรณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเพียงรูปเดียวหรือภิกษุมากกว่า
หนึ่งรูปแต่ไม่ครบองค์สงฆ์คือตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปไม่อาจจะทำกิจจาธิกรณ์ได้
7.11 อธิกรณสมถะ : ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอธิกรณสมถะไว้ในพระปาฏิโมกข์ เพื่อเป็นหลักให้ภิกษุใช้
สำหรับการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในพระพุทธศาสนาดังนี้
1.) สัมมุขาวินัย คือ การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้า หมายถึง พร้อมหน้าสงฆ์,
พร้อมหน้าบุคคล คือ คู่กรณี, พร้อมหน้าวัตถุ คือ ยกเรื่องที่เกิดนั้นขึ้น
ธรรม คือ วินิจฉัยถูกต้องตามธรรมวินัย
รื่องที่เกิดนั้นขึ้นมาวินิจฉัย และพร้อมหน้า
2.) สติวินัย คือ การระงับอธิกรณ์โดยถือว่าเป็นผู้มีสติสมบูรณ์ ใช้ในกรณีที่จำเลยเป็น
พระอรหันต์ซึ่งเป็นผู้มีสติสมบูรณ์
3.) อมูฬหวินัย คือ การระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์ให้ว่าต้องอาบัติในขณะเป็นบ้า
'พระธรรมกิตติวงศ์ (2548) “พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด” หน้า 403.
188 DOU
สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก