ความสัมพันธ์ระหว่างแรงโน้มถ่วงและแสง GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 62
หน้าที่ 62 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงบทบาทของแรงโน้มถ่วงในการเคลื่อนที่ของแสง ซึ่งความโน้มถ่วงทำให้แสงเคลื่อนที่ในเส้นทางโค้งภายใต้สภาพกาลอวกาศที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุขนาดใหญ่ เช่น ดวงดาว ความโน้มถ่วงยังส่งผลให้ความยาวของคลื่นแสงเปลี่ยนแปลงจากความถี่สูงไปยังความถี่ต่ำ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแสงที่เรามองเห็นอาจมีการเปลี่ยนแปลงสีตามแรงโน้มถ่วง นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงทฤษฎีควอนตัมที่พัฒนาโดยมักซ์ พลังค์ ซึ่งช่วยอธิบายลักษณะของพลังงานแสงที่มีการปล่อยออกมาแบบก้อน โดยแสงจะไม่ได้มีลักษณะต่อเนื่อง และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของความยาวคลื่นแสงเมื่อเปลี่ยนสภาพของแรงโน้มถ่วง.

หัวข้อประเด็น

-แรงโน้มถ่วงกับแสง
-กาลอวกาศ
-ทฤษฎีควอนตัม
-ผลกระทบของแรงโน้มถ่วงต่อคลื่นแสง
-พลังงานแสงตามมักซ์ พลังค์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อาทิตย์ช้ากว่าบนโลกเรา 64 วินาทีในหนึ่งปี 1 ความโน้มถ่วงทำให้แสงเดินทางเป็นเส้นโค้ง ผลของสนามความโน้มถ่วงทำให้ “กาลอวกาศ” รอบวัตถุใหญ่ๆ ดังเช่นดวงดาวมี สภาพโค้งงอ ดังนั้นแสงที่เดินทางเข้าใกล้ดวงดาว เช่น ดวงอาทิตย์ จะเดินทางไม่เป็นเส้นตรง แต่จะ เบนตามผิวโค้งของ “กาลอวกาศ” บริเวณใกล้ๆ ดวงอาทิตย์ หากเปรียบห้วง “กาลอวกาศ” ในจักรวาลหรือในเอกภพเป็นเหมือน “น้ำ” ที่ใส่ไว้ใน อ่างใบใหญ่ และเปรียบดวงดาวต่าง ๆ เหมือน “ผลส้ม” ที่ใส่ลงไปในน้ำนั้น ตอนที่เรายังไม่ได้ ใส่ผลส้มลงไปในอ่างน้ำ น้ำในอ่างจะมีสภาพราบเรียบเสมอเหมือนกันในทุกตำแหน่ง แต่เมื่อ เราใส่ผลส้มลงไปแล้ว ผลส้มก็จะแทรกเข้าไปอยู่ในน้ำ ส่งผลให้น้ำบริเวณผลส้มมีความโค้งงอ ไปตามผิวของผลส้มซึ่งค่อนข้างกลม ความโค้งงอของกาลอวกาศก็มีลักษณะคล้ายๆ ที่กล่าวมา นี้ เมื่อกาลอวกาศบริเวณใกล้ๆ กับดวงดาวต่าง ๆ โค้งงอ จึงส่งผลให้แสงที่เดินทางผ่านเข้ามา บริเวณนั้นโค้งงอไปตามความโค้งของกาลอวกาศในตำแหน่งนั้นด้วย ความโน้มถ่วงยืดความยาวของคลื่นแสง ความโน้มถ่วงยึดความยาวของคลื่นแสง หมายถึง ความโน้มถ่วงทำให้แสงเกิด เปลี่ยนแปลงความถี่ของคลื่นจากความถี่สูงไปสู่ความถี่ต่ำ เพราะคลื่นแสงที่มีความถี่สูงจะมี ความยาวของช่วงคลื่นแต่ละคลื่นสั้น ส่วนคลื่นที่มีความถี่ต่ำจะมีความยาวของช่วงคลื่นแต่ละ คลื่นยาว แสงที่มีความถี่สูงจะมีสีม่วงส่วนแสงที่มีความถี่ต่ำจะมีสีแดง หากเราอยู่ในบริเวณที่มี ความโน้มถ่วงต่ำแล้วมองไปยังตำแหน่งที่มีความโน้มถ่วงสูง แสงที่ส่งออกมาจากตำแหน่งที่ ความโน้มถ่วงสูงจะปรากฏต่อเราว่า ความยาวคลื่นยืดขยายออกไป นั่นคือ หากแสงที่ส่งออก มาเป็นสีม่วงแต่เราจะมองเห็นเป็นสีแดงเพราะอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงที่ไปยืดขยายคลื่นแสงนั้น 3.2.2 ทฤษฎีควอนตัม ควอนตัม (Quantum) แปลว่า ก้อนพลังงาน” เป็นคำที่ มักซ์ พลังค์ (Max Planck) นัก ฟิสิกส์ชาวเยอรมันผู้ตั้งทฤษฎีควอนตัมขึ้นในปี ค.ศ.1900 (พ.ศ. 2443)ใช้เรียกพลังงานของ แสงที่ได้ออกมาจากการเผา “ของแข็ง” จนร้อนและสุกสว่าง มักซ์ พลังค์ สังเกตเห็นว่า พลังงาน ของแสงที่ให้ออกมานั้นไม่ต่อเนื่องกัน แต่จะมีลักษณะเป็นช่วง ๆ หรือ เป็นก้อนๆ เขาจึงเรียก 1 ไพรัช ธัชยพงษ์ (2549). “หนังสือไอน์สไตน์ หลุมดำ และบิกแบง” หน้า 412. * มาลี บานชื่น (2531), “แสงและทฤษฎีควอนตัม” หน้า 110. บ ท ที่ 3 ความรู้พื้นฐานเรื่องเอกภพ DOU 51
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More